แนวคิดในการออกแบบ
บ้านเป็นบ้านที่ทางเจ้าของอยู่อาศัยมาหลายปี แล้วได้มีความต้องการที่อยากเพิ่มพื้นที่ใช้งานและต้องการปรับรูปแบบหน้าตาบ้านใหม่เพื่อให้สวยขึ้น ซึงบ้านเดิมมีลักษณะทึบตันและไม่มีความโดดเด่นมุมมองจากภายนอกมองเข้าบ้านแทบจะไม่เห็นตัวบ้านเลย เนื่องจากตัวบ้านเดิมตั้งอยู่ค่อนข้างลึกห่างจากถนนหน้าบ้าน
ดังนั้นการออกแบบใหม่ครั้งนี้ทีมออกแบบจะต้องคำนึงถึงลักษณะเด่นให้กับอาคาร และมีโจทย์อยู่ว่าจะเพิ่มจุดสนใจให้กับตัวอาคารยังไง ห้องนอนใหญ่ และเพิ่มโรงจอดรถ นี่เป็น2 สิ่งหลักๆที่เจ้าของบ้านต้องการ ด้วยข้อกำหนดพื้นที่ว่างสามารถวางฟังชั่นนี้ได้เลยหลังจากนั้นค่อยมาดูกันว่าจะเราจะออกแบบจัดวางองค์ประกอบและฟังชั่นเสริมอื่นๆไปในทิศทางไหนได้บ้างเพื่อสร้างความน่าสนใจ
แนวคิดการจัดวางและสร้างมิติของอาคาร
เริ่มด้วยฟังชั่นห้องนอนที่ต้องการเติมและเชื่อมจากตัวบ้านเดิม ด้วยข้อกำหนดบ้านเดิมมีทางเดินเชื่อมแต่ละห้องนอนอยู่ที่ชั้น 2 และเพื่อเป็นการเพิ่มมิติของตัวอาคารให้เด่น เราจึงยกตัวห้องนอนขึ้นไว้ใช้งานที่ระดับชั้น 2 แล้วสิ่งที่ตามมาหลังจากยกห้องนอนคือได้พื้นที่ว่างใต้ถุน ที่ได้ร่มเงาและลมพัดผ่านพื้นที่ใต้ถุนได้ทั้งวัน ซึ่งเหมาะสำหรับเป็นพื้นที่นั่งเล่น ทำกิจกรรมครอบครัว รับแขกผู้มาเยือนได้ด้วย ตามวิถีคนอีสานที่ใช้พื้นที่ใต้ถุนบ้านเป็นพื้นที่อเนกประสงค์ พร้อมกับการตกแต่งงานไม้จริงเข้าไปเพิ่มความเป็นบ้านไทยอีสานที่ผสมผสานกับส่วนอื่นๆที่ทันสมัย
ต่อมาที่ส่วนประกอบอื่นๆที่ต้องเปลี่ยนแปลงภาพลักษณ์คือ ทางเข้าหลัก (main entrance) ที่จำเป็นต้องแปลงโฉม ให้เกิดความน่าสนใจเพื่อเน้นเป็นหน้าบ้านที่เปิดรับมุมมองหรือต้อนรับแขกผู้มาเยี่ยมเยือน พร้อมกับแมสตัวอาคารเดิมที่เป็นหลังคาทรงปั้นหยา ซึ่งไม่เข้ากับรูปแบบทันสมัย เลยมีแนวคิดที่จะปรับรูปทรงให้สอดคล้องกับความทันสมัย แต่ยังต้องมีข้อกำหนดจากโครงสร้างเดิม ดังนั้นจึงได้นำรูปแบบของหน้าจั่วสไตล์นอร์ดิกมาผสมผสาน เพื่อเปลี่ยนภาพลักษณ์ของบ้านเดิมกลายเป็นบ้านหลังใหม่
อีกหนึ่งฟังชั่นที่ถูกปรับเปลี่ยนจากโรงจอดรถเดิมเพื่อให้เป็นห้องออกกำลังกายซึ่งทางเจ้าของบ้านมีความชอบออกกำลังกายและอบซาวหน้า และต้องการใช้โครงสร้างอาคารเดิมจึงออกแบบให้มีความต่อเนื่องกับอาคารจอดรถใหม่เพื่อเป็นอาคารแนวยาวนำสายตาไปดึงความน่าสนใจสู่อาคารชั้น2 ระหว่างทางได้มีการออกแบบแผงระแนงตั้งบังสายตาจากมุมมองคนภายนอกมองทะลุเข้าไปในห้องออกกำลังกายและพื้นที่กิจกรรมอื่นๆของคนในบ้านหลังจากที่จัดวางองค์ประกอบตัวอาคารแล้ว เราก็นำต้นไม้เข้าสอดแทรกแต่ละจุดเพื่อเพิ่มมุมมองธรรมชาติให้กับผู้คนในบ้านและเสริมภาพลัษณ์ของบ้านให้ดูสบายตามากขึ้น
พื้นที่ใต้ถุนมีแนวคิดการออกแบบให้นึกถึงกลิ่นอายของบ้านอีสานในสมัยก่อนแต่ดูเรียบหรูทันสมัยขึ้นตามยุคสมัย แต่การใช้งานพื้นที่เรายังเป็นไปตามวิถีเดิมในอดีต ถูกแบ่งพื้นที่ชัดเจนด้วยม้านั่งปูนกรุหินกรวดล้างสีดำ ปูพื้นนั่งโดยไม้จริงเพื่อให้รู้สึกเหมือนนั่งแคร่(เตียง) ในเมื่อก่อน ฝ้าเพดานตกแต่งระแนงไม้จริงให้ความรู้สึกโปร่งโล่งลักษณะคล้ายกับท้องพื้นไม้จริงในบ้านสมัยก่อน พร้อมแทรกงานตกแต่งโคมไฟรางเข้าไประหว่างช่องระแนงทำให้เกิดความเรียบเนียนเป็นสิ่งเดียวกับไม้ระแนง จะเห็นได้ว่าพื้นที่ใต้ถุนนี้จะถูกเชื่อมโยงกับห้องนั่งเล่นภายในบ้านเดิมทั้ง2จุด เพื่อเป็นการเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างคนในบ้านและนอกบ้าน
มุมทางเดินเข้าบ้าน(ทางหลัก)ที่ถูกปรับเปลี่ยนให้เด่นขึ้น เพื่อแสดงความชัดเจนถึงความเป็นหน้าบ้านและทางเข้าหลักของบ้าน
โรงจอดรถเดิมที่ถูฏโณงจอดรถใหม่เชื่อมเข้าด้วยกันจนกลืนไปด้วยกันเหมือนออกแบบใหม่ โดยมีแผงระแนงแนวตั้งกันบังสายตาให้กับฟังชั่นด้านใน และเพื่อลดทอนความยาวของอาคารที่ดูยาวจนเกินไปเพิ่มลูกเล่นระหว่างทางเดินเพื่อไม่ให้รู้สึกว่าทางเดินไกล เพร้อมทั้งพิ่มความน่าสนใจให้กับแมสอาคารด้วย
Reviews
There are no reviews yet.