แนวคิดในการออกแบบ
Inside-Out House เป็นโครงการที่พักอาศัยส่วนตัว ที่อยู่ท่ามกลางย่านที่พักอาศัยที่หนาแน่นมาก มีบ้านพักอาศัยอื่นๆรอบพื้นที่อาคารทั้ง 3 ด้าน ด้านหน้าบ้านเป็นถนนซอยแคบและหลังบ้านยังอยู่ใกล้กับทางด่วนอีกด้วย requirements ที่ทางลูกค้าให้มา คือต้องการความเป็นส่วนตัวสูงที่สุด ไม่อยากให้คนภายนอกมองเข้ามาเห็นการใช้ชีวิตภายในบ้านได้เลยแม้แต่นิดเดียว ไม่ชอบเสียงดัง แต่กลับชอบที่จะใช้ชีวิตภายนอกอาคารและชอบระเบียงที่ลมพัดผ่านตลอดเวลา จาก requirements ที่มีความขัดแย้งกันค่อนข้างสูงกับบริบทที่ตั้งอาคาร ผังบ้านไทยประเพณี จึงถูกนำมาพิจารณา และ ใช้เป็นตัวตั้งต้นในการออกแบบวางผังโครงการนี้
ประยุกต์ใช้แนวคิดบ้านไทยประเพณี
แนวความคิดโดยสังเขปของการวางผังบ้านไทยประเพณี ที่ได้นำมาประยุกต์ใช้นั้น ทางผู้ออกแบบสังเกตเห็นว่า การวางผังอาคารของบ้านไทยประเพณีนั้น เป็นการจัดวางกลุ่มอาคาร ชั้นเดียวใต้ถุนสูง โดยมีชานเป็นตัวเชื่อมกิจกรรมและกลุ่มอาคารต่างๆเข้าด้วยกัน โดยการจัดวางตำแหน่งของอาคารแต่ละหลังนั้น เป็นการจัดวางที่คำนึงถึงทิศทางแดดและการระบายอากาศเป็นสำคัญ
ในโครงการนี้ได้นำหลักการดังกล่าวมาประยุกต์ใช้ในเรื่องของการวางผังและยังเอามาใช้ในการออกแบบ section ของอาคาร เพื่อกำหนดการวางตัวของกลุ่มกิจกรรมต่างๆ ทั้งในแนวนอนและแนวตั้ง โดยจัดวางให้กลุ่มของกิจกรรมแต่ละก้อนวางตัวเหลื่อมล้ำ สลับกันไปมา โดยคำนึงถึงทิศทางของลมเป็นหลัก ส่งผลให้เกิด court น้อยใหญ่ขึ้น 5 court โดยขนาดของ court แต่ละ court นั้น เป็นตัวกำหนดความแรงของลมในส่วนต่างๆของอาคาร ผลลัพท์คือ court เหล่านั้นได้ทำหน้าที่สอดประสานกัน บังคับทิศทางการไหลผ่านของลม หมุนเวียนทะลุตัวทั่วทั้งตัวอาคารได้เป็นอย่างดี
การออกแบบเปลือกอาคาร
หลังจากการออกแบบจัดการการไหลเวียนของอากาศภายในอาคาร เปลือกนอกของอาคารที่ทำหน้าที่ในการตัดขาดระหว่าง ภายนอกกับภายในจึงถูกกำหนดขึ้นภายหลัง ผนังก่ออิฐฉาบปูนทึบตันหนา 2 ชั้นถูกพิจารณานำมาใช้ในโครงการนี้ เพื่อตัดขาดความสัมพันธุ์จากภายนอกโดยสิ้นเชิงทั้งทางด้านมุมมองและเรื่องของเสียงรบกวน สิ่งที่สัมผัสและรับรู้ได้เมื่ออยู่ในอาคารนี้คือสายลม แสงแดด และ ท้องฟ้าเท่านั้น ส่วนเสียงที่ดังจากทางด่วน นอกจากผนังทึบ 2 ชั้นที่ทำหน้าที่เป็น insulation แล้ว เสียงของน้ำจาก infinity pool ที่มีน้ำไหลตลอดเวลา ได้ทำหน้าที่ในการตัดเสียงรบกวนจากภายนอกออกแทบจนจะทั้งหมด ผนังภายนอกอาคารที่เป็นผนังก่ออิฐฉาบปูนที่มีขนาดใหญ่มากและไม่มีรอยต่อเลย การพิจารณาให้สีพ่น texture ที่มีความยืดหยุ่นสูงถึง 700% จึงถูกนำมาใช้เป็นวิสดุ finishing เพื่อป้องกันการแตกร้าว
ลักษณะต้นไม้ในโครงการ
การกำหนดตำแหน่งและรูปทรงของต้นไม้ เป็นต้นไม้ทรงสูง จัดวางไว้ตาม court yard ต่างๆทำหน้าที่ลดความแข็งของผนังปูนสีเทาได้เป็นอย่างดี ทั้งยังช่วยลดความแรงของลมเมื่อเวลาลมพัดเข้ามาในตัวอาคารได้อีกด้วย
Fin คอนกรีตบริเวณดาดฟ้า
แสงแดดที่ร้อนแรงของประเทศไทย เป็นอีกประเด็นที่ทางผู้ออกแบบให้ความสำคัญ โดยได้ออกแบบ fin คอนกรีตบริเวณดาดฟ้าอาคาร เป็น fin ที่มีความลึกแต่ละชิ้นที่ 70 ซม.ห่างกัน 1.25 ม. หน้าที่หลักของ fin นี้คือ เพื่อใช้ในการบังแดดและความร้อนจากแสงอาทิตย์ ส่งผลให้แดดที่สามารถตกลงมาในอาคารนั้นมีปริมาณจำกัด ทำให้อาคารไม่ร้อน และในขณะเดียวกันเมื่อเวลาเปลี่ยนไป แดดในแต่ละเวลาก็สร้างมิติที่น่าสนใจและหลากหลายให้กับพื้นที่ภายในอาคารอีกด้วย
Reviews
There are no reviews yet.