แนวคิดในการออกแบบ
กลิ่นอายแห่งความสุขของการอยู่อาศัยกับการทำงานมักมีองค์ประกอบส่วนหนึ่งจาก ‘ความสัมพันธ์กับบริบทสภาพแวดล้อมและชุมชนในพื้นที่’ เป็นตัวช่วยสร้างบรรยากาศเติมเต็มความหมายของสถาปัตยกรรมให้ลึกซึ้งมากกว่าที่เคย โดยนำความทรงจำ และความผูกพันในวัยเด็กมาสร้างสถาปัตยกรรมที่เปรียบเสมือน“สัญลักษณ์สำหรับการระลึกถึงกับการควบรวมสถาปัตยกรรมและธรรมชาติแวดล้อมให้เป็นหนึ่งเดียว”
ผสานความสมัยใหม่ กับความเรียบง่ายพื้นถิ่น
โครงการอาคารสำนักงาน เอนโทรปีอาร์คิเทค จํากัด ที่ตั้งอยู่ในย่านชานเมืองปทุมธานี ล้อมรอบไปด้วยชุมชนชนบทท้องถิ่นที่ทำอาชีพเกษตรกรรม ผู้คนมีวิถีชีวิตเรียบง่ายอยู่กับธรรมชาติสีเขียวมีพื้นที่โล่ง อากาศธรรมชาติ การออกแบบจึงได้นำบริบทดังกล่าว มาถ่ายทอดออกมาในรูปแบบของสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นแบบผสมผสานความเป็นสมัยใหม่
การหลงรักบ้านไม้เรือนไทยเดิมที่เป็นบ้านหลังแรกหรือที่ผู้ออกแบบเรียกว่า บ้านสวน ที่ได้ใช้ชีวิตในสมัยเด็กซึ่งในบ้านสวนที่มีลักษณะองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมเป็นแบบบ้านเรือนไม้เก่า ใต้ถุนยกสูง หลังคาทรงจั่ว มีชานบ้านขนาดใหญ่ที่ไว้มานั่งเล่นกันในครอบครัวซึ่งนำมาเป็น “แนวความคิดกับอาคารหลังนี้ตั้งแต่ตั้งโจทย์มาคือเราจะทำอย่างไรให้บ้านหลังนี้มีความเป็นกลิ่นอายความเป็นบ้านสวนสมัยเด็กที่ผสานกับความสมัยใหม่”
คอนเซปเรือนไทยพื้นถิ่น
การออกแบบถอดความหมายของ “เรือนไทยพื้นถิ่น” ออกมาทีละเล็กละน้อยเริ่มต้นจากองค์ประกอบของบ้านเรือนไทยที่พบเห็นได้ทั่วไปตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันอย่าง “หลังคาทรงจั่ว” และ “พื้นที่ใต้ถุนบ้าน” ซึ่งถือเป็นพื้นที่เปิดโล่งอเนกประสงค์ที่ใช้ทำกิจกรรมหลักอย่างนั่งเล่น รับแขก กินข้าว ทำครัว
ลักษณะขององค์ประกอบทั้งสองถูกสอดแทรกเข้าไปแทนที่จะนำมาใช้อย่างตรงไปตรงมาได้เพิ่มเติมลูกเล่นให้ทันสมัย ด้วยการจับจังหวะเส้นสายขององค์ประกอบใหม่ให้ออกมาน่าสนใจกว่าเดิมช่องเปิดจึงถูกออกแบบให้เป็นหน้าต่างบานขนาดใหญ่ที่สามารถเปิดโล่งเพื่อเชื่อมต่อกับพื้นที่ภายนอกจนเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน โดยที่แสงแดด สายลมสามารถพัดผ่านเข้ามาได้ อากาศเย็นสบายแทบไม่ต้องใช้เครื่องปรับอากาศ และยังให้ความรู้สึกเหมือนอยู่ใต้ถุนบ้านที่สามารถมองเห็นบรรยากาศธรรมชาติรอบๆ ได้อย่างสมบูรณ์
การวางตัวอาคาร
การออกแบบจึงเลือกออกแบบให้สอดคล้องกับเงื่อนไขสภาพอากาศโดยความที่พื้นที่หน้าตื้นและยาวตามแนวเหนือใต้ การจัดวางแมสอาคารให้มีการวางเอียงไปในทิศทางลมพัด
กับรูปแบบอาคารทรงกล่องสี่เหลี่ยมสองก้อนหน้าตาฝาแฝดหลังนี้มีองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมที่ซับซ้อน เพื่อให้ลมพัดผ่านเข้ามาไหลเวียน ใช้ประโยชน์ต้นไม้รอบบ้านที่ปลูกไว้บดบังร่วมเงาจากดวงอาทิตย์ โครงสร้างหลักของบ้านเป็นเสาคานคอนกรีต
พื้นที่ใช้สอย
การใช้งานภายในพื้นที่ชั้นหนึ่ง ห้องรับประทานอาหารและเป็นพื้นที่นั่งเล่นของพนักงาน ให้เป็นพื้นที่เดียวกัน เพื่อเชื่อมต่อพื้นที่เพื่อความสะดวกสบายในการใช้งานมากยิ่งขึ้น ใต้ถุนอาคารใช้เป็นพื้นที่อเนกประสงค์กับเป็นพื้นที่จอดรถด้วย โดยทางเชื่อมต่อขึ้นไปชั้นสองยังเป็นชานที่สามารถนั่งพักผ่อนได้
ชั้นสองจะแบ่งพื้นที่เป็นส่วนทำงานของสำนักงานที่มีฝ้าเพดานสูงเพื่อเปิดรับแสงภายนอกเข้ามาช่วยให้แสงสว่างในการทำงานมากขึ้นอีกส่วนเป็นห้องรับรองหรือห้องสังสรรค์ที่เอาไว้รองรับลูกค้าหรือเวลาจัดงานภายในโดยด้านในมีห้องนอนของพนักงานไว้รองรับสำหรับพนักงานคนไหนที่กลับบ้านดึกก็สามารถใช้ห้องนอนส่วนนี้ได้
Reviews
There are no reviews yet.