แนวคิดในการออกแบบ
โปรเจค Design Unit Studio นี้ คือการรีโนเวทโกดัง Shophouse ให้กลายเป็นออฟฟิศ แบบ Mixed-Use ที่มีพื้นที่แสดงนิทรรศการขนาดเล็กในตัว
Concept และที่มาของการออกแบบ เริ่มจากทางเจ้าของโครงการ ต้องการพื้นที่สำนักงาน ที่สามารถปรับให้เป็นพื้นที่ Exhibition สำหรับใช้จัดนิทรรศการ และกิจกรรมขนาดเล็กได้ อาทิเช่น การทำเวิร์คชอป หรือฉายหนังบนสกรีน เป็นต้น
ใช้ผ้าม่านเป็น Element หลัก
ด้วยเหตุนี้ ทางผู้ออกแบบ จึงเสนอไอเดียโดยการใช้ “ผ้าม่าน” เป็นองค์ประกอบหลักในการแบ่งพื้นที่ใช้งาน ซึ่งข้อดีคือสามารถเปิดปิดและสร้าง Space ได้อย่างยืดหยุ่น เมื่อทางเจ้าของโครงการอนุมัติ ทางสถาปนิกจึงเริ่มศึกษาต่อในส่วนของชนิดของเนื้อผ้า และรูปทรงที่ต้องการดีไซน์ออกมา จนในที่สุด ก็ตัดสินใจว่าจะออกแบบให้การกั้นพื้นที่ มีลักษณะเป็นทรงโค้งแบบ Curved Form
กั้นพื้นที่ ด้วยเส้นโค้ง
ในงานออกแบบสถาปัตยกรรม พื้นที่โค้ง ถือเป็นคอนเซปที่มีความท้าทายพอสมควร ซึ่งการใช้ผ้าเข้ามากั้นห้อง ก็ถือเป็นทางแก้ไขที่ตอบโจทย์ได้อย่างดี การใช้เส้นโค้งกั้น Space ช่วยให้เกิดความรู้สึกไหลลื่น และทำให้พื้นที่ที่เป็นลักษณะแนวตั้งแนวนอน สามารถเชื่อมต่อกันได้อย่างลงตัวมากขึ้น
โครงการนี้ ใช้ผ้าม่านในการแบ่งโซนแยกกัน 2 ผืน ระหว่างชั้นบน และชั้นล่าง ซึ่งความอิสระในการเปิดปิดแยกกันได้ในลักษณะนี้ ก็สามารถช่วยให้ผู้ใช้งาน เลือกสร้างพื้นที่ที่ให้ความรู้สึกน่าสนใจได้หลากหลายมากขึ้น
การจัดผังพื้น
ในส่วนของ Layout โครงการ ทางสถาปนิกได้ออกแบบไว้อย่างเรียบง่าย แต่ชัดเจน โดนในส่วนด้านหลังสุดของชั้นล่าง จะเป็นพื้นที่สำหรับ Pantry และห้องประชุม โดยทั้งสองส่วนนี้ถูกกั้นระหว่างกันด้วย Partition ที่สามารถเลื่อนเปิดปิดได้ ผู้ใช้งานจึงสามารถเปิดเชื่อมพื้นที่ให้ใหญ่ขึ้น หรือกั้นแบ่งเพื่อแยกใช้งานได้ตามต้องการ
ในส่วนของด้านหน้า ได้ถูกออกแบบให้เป็นสำนักงาน และส่วนใช้สำหรับจัดนิทรรศการ โดยมีลักษณะเป็นพื้นที่แบบ Double Space ความสูงประมาณ 5 เมตร และด้วยความสูงระดับนี้ ทำให้สถาปนิกสามารถเพิ่มพื้นชั้นสองในบริเวณพื้นที่บางส่วนได้ ซึ่งพื้นที่ชั้น 2 นี้ ถูกออกแบบให้ใช้งานเป็น Gallery Space ที่มีเป็นกำแพงแนวยาวอยู่ด้านหลังไว้ติดผลงานที่ต้องการแสดง และในขณะเดียวกัน ก็สามารถมองลงมาสู่บริเวณโถง Double Space ได้ในอีกด้านหนึ่งนั่นเอง
ผังพื้นชั้น 1
ผังพื้นชั้น 2
รูปตัด Isometric
บันไดแบบเคลื่อนที่ได้
อีกหนึ่งองค์ประกอบที่น่าสนใจของโปรเจคนี้ คือการเลือกใช้บันได้เหล็ก ที่สามารถเลื่อนตำแหน่งไปมาได้อย่างอิสระ ผลลัพธ์ที่ได้ คือนอกจากจะใช้เดินขึ้นลงแล้ว ตัวบันได้เอง ยังสามารถทำหน้าที่เป็น Exhibition Wall หรือช่วยในส่วนงาน Lighting ได้ด้วย
Facade ด้านหน้า
ในส่วนของผนังเชื่อมต่อกับด้านนอก แทนที่จะใช้เป็นประตูหน้าต่างธรรมดา สถาปนิกได้ออกแบบให้เป็น Facade ที่มีลักษณะเป็นการผสมผสานกันของ Element ในรูปแบบ Abstract ซึ่งบางชิ้นส่วนก็ก็สามารถเปิดปิดได้ บางชิ้นก็เป็นแบบ Fixed
ด้วยเทคนิคนี้ ช่วยให้ค่าใช้จ่านั้นไม่แพงจนเกินไป เพราะไม่ต้องใช้กระจกแผ่นใหญ่แผ่นเดียวซึ่งมีราคาสูง ในส่วนวัสดุ สถาปนิกเลือกใช้เหล็กสีเทาอ่อนเป็นโครงสร้าง Facade ทั้งหมด ช่วยให้ความรู้สึกสงบ และน่าเคารพ เข้ากับบรรยากาศโดยรอบของโครงการ
Reviews
There are no reviews yet.