คนส่วนใหญ่ทั่วไปแล้ว มักจะไม่ค่อยสนใจเท่าไหร่ว่า หลังคามีกี่แบบ จนถึงเวลาที่จำเป็นต้องซ่อมแซม หรือเปลี่ยนหลังคาของตนเอง อย่างไรก็ตาม รูปทรงของหลังคานั้น ไม่ได้เพียงส่งผลต่อแค่รูปลักษณ์ ความสวยงามของตัวอาคารเท่านั้น แต่ยังมีความแตกต่างในด้านฟังก์ชั่นการใช้งาน และมูลค่าอีกด้วย เช่น หลังคาแต่ละรูปทรง จะมีความสามารถที่ต่างกัน ในเรื่องของ การช่วยในเรื่องของการประหยัดพลังงาน, การป้องกันน้ำ หรือการเพิ่มพืนที่ใช้สอยด้านใต้ เป็นต้น
บทความนี้ เราจะมาอธิบาย ประเภทของหลังคา แจกแจงรายละเอียดให้ผู้อ่านทุกท่านได้ทราบกัน ว่า หลังคามีกี่แบบ แต่ละแบบมีรูปร่างหน้าตาอย่างไร และมีข้อดี ข้อเสียแตกต่างกันอย่างไรบ้าง
หลังคาทรงหน้าจั่ว
รูปทรงหน้าจั่ว หรือ Gable Roof นั้น เป็นหลังคาทรงสามเหลี่ยมปลายแหลมที่สามารถพบเห็นได้ทั่วไป มุงกังอาคารที่มีผังพื้นเป็น 4 เหลี่ยม มีลักษณะเอียง Slope อยู่ 2 ด้าน ที่อยู่ตรงข้ามกัน (มักจะเป็นด้านแนวยาว) โดยเฉพาะในบ้านพักอาศัย เป็นรูปแบบที่มีราคาประหยัด ง่ายต่อการก่อสร้าง และมีรูปทรงที่ไม่ซับซ้อน ซึ่งจริงๆ แล้ว หน้าจั่วเป็นรูปทรงพื้นฐาน ที่มีการถูกนำไปต่อยอดจนเกิดไปรูปทรงหลังคาอื่นๆ มากมาย ถ้าถามว่า หลังคามีกี่แบบ หลายๆ คนมักจะนึกถึงประเภทนี้แบบแรกๆ
ในส่วนของวัสดุมุงหลังคาหน้าจั่วนั้น มีให้เลือกใช้ได้อย่างหลากหลายมากมาย ไม่ว่าจะเป็นกระเบื้องไม้ กระเบื้องดินเผา กระเบื้องหินฉนวน หรือคอนกรีต เป็นต้น และด้วยความยืดหยุ่นนี้เอง ทำให้ต้นทุนในการออกแบบและก่อสร้างหลังคาประเภทนี้ ไม่สูงมาก
อย่างไรก็ตาม หากมีการออกแบบที่ซับซ้อนมากขึ้น เช่น มีการยื่นหลังคาจั่วออกมาในมุมฉากจากหลังคาเดิม ก็ควรจะเลือกใช้กระเบื้องเหล็ก เพราะช่วยป้องกันปัญหาด้านการรั่วซึมได้ดีกว่านั่นเอง
อีกหนึ่งเหตุผลที่ทำให้หน้าจั่วนั้นได้รับความนิยม เพราะรูปทรงสามเหลี่ยม ช่วยให้น้ำฝนไหลลงได้อย่างสะดวก ระบายน้ำได้ง่ายขึ้น และสามารถยื่นส่วนปลายออกเป็นชานพักบังแดดได้ เหมาะกับภูมิอากาศร้อนชื้นอย่างประเทศไทยเรา นอกจากนี้ ในส่วนปลายแหลมด้านบน ยังสามารถใช้พื้นที่ด้านใต้เป็นห้องเก็บของเล็กๆ ได้อีกด้วย เป็นห้องใต้หลังคานั่นเอง ด้วยเหตุนี้ ถ้าถามว่า หลังคามีกี่แบบ หลังคาทรงจั่วมักจะเป็นตัวเลือกแรกๆ ที่หลายๆ คนตอบกันครับ
มีกี่ประเภท
หน้าจั่วธรรมดาหรือ Side Gable ถือเป็นทรงมาตรฐานที่ได้รับความนิยมมากที่สุด แต่ในอาคารที่มีรูปทรงซับซ้อนมากขึ้น ก็จำเป็นต้องมีการยื่น ยุบ หรือต่อขยายส่วนเพิ่มเติม ทำให้ต้องมีการดีไซน์หลังคาให้เชื่อมต่อ หรือตัดกัน เพื่อรองรับด้วยเช่นกัน ทำให้ประเภทย่อยของรูปทรงนี้แตกออกไปอีกมากมาย
แบบธรรมดา
รูปทรงหน้าจั่วธรรมดา เป็นทรงมาตรฐาน ที่มีความเรียบง่าย หากตัวอาคารมีลักษณะแปลนเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า ไม่มีการแตกย่อยไปในทิศทางอื่น
แบบ Cross
ถ้าระหว่างกลางของหน้าจั่วธรรมดา มีการยื่นก้อนอาคารออกไปเป็นหน้าจั่วอีกทิศทางหนึ่ง จะกำเนิดเป็นรูปทรงแบบ Crossed Gable คือการประกอบดีนระหว่างหน้าจั่ว 2 อัน ในทิศทางมุมฉากนั่นเอง
แบบ Dutch
Dutch Gable คือหลังคาที่เกิดจากการผสมผสานกันระหว่างหลังคาปั้นหยา กับหลังคาจั่ว โดยส่วนปลายจะเป็นตั่วเพื่อเพิ่มพื้นที่ด้านใต้สำหรับเก็บสิ่งของ หรือใช้สอยอื่นๆ
แบบ Front
แบบ Front Gable Roof นั้น มักปรากฏให้เห็นทั่วไปในบ้านแบบสไตล์ Colonial คือหลังคาจั่วที่ถูกเสริมเข้ามาบริเวณทางเข้า ยื่นออกมาเพื่อสร่างความโดดเด่น
หลังคาจั่วทุกรูปแบบ สามารถนำมาผสมผสานกันในอาคารแห่งเดียวได้เช่นกัน เพื่อดึงประโยชน์สูงสุดของแต่ละรูปทรง มาปรับใช้กับรูปทรงอาคารบริเวณต่างๆ ให้เหมาะสม เรามาดูกันต่อเลย ว่า หลังคามีกี่แบบ ที่น่าสนใจในประเภทถัดๆไป
หลังคาทรงปั้นหยา
ถ้าถามว่า หลังคามีกี่แบบ แล้ว ก็ขาดรูปแบบยอดนิยมอีกรูปทรงหนึ่งอย่าง ทรงปั้นหยา หรือ Hip Roof ไปไม่ได้เลย โดยสิ่งที่ต่างจากทรงหน้าจั่ว คือ หลังคาปั้นหยาจะมีมุมลาดเอียงทั้ง 4 ด้าน แทนที่จะมีพื้นผิวเอียง 2 ด้านเหมือนหน้าจั่ว ข้อดีคือ ช่วยให้ระบายน้ำได้ทุกๆ ด้านของอาคารนั่นเอง เพราะหลังคาจะลาดเอียงลงพื้นทุกด้านของอาคาร
ปั้นหยา ถือว่าเป็นหลังคาที่มีความเสถียร แข็งแรงกว่าหน้าจั่ว เพราะมีการบรรจบกันขึ้นมาทั้ง 4 ด้าน ช่วยกันแดดได้มากกว่า เพราะมีชายคายื่นออกได้ทั้ง 4 ด้าน ในองศาที่กดลงใกล้กับระดับพื้น
หลังคาทรงนี้ มักมีองค์ประกอบดีไซน์ที่หลากหลาย ไม่ใช่แค่ก้อนสี่เหลียมธรรมดา เช่น มีการยื่นจั่วออกไปด้านหน้า (Front Gable) เพื่อเสริม Space ทางเข้าให้โดดเด่นขึ้น เป็นต้น โดยสามารถมุงได้ด้วยวัสดุที่หลากหลาย ตั้งแต่ยางมะตอย กระเบื้องเหล็ก กระเบื้องดินเผา ไปจนถึงกระเบื้องคอนกรีต
ถึงแม้ว่าหลังคาปั้นหยา มักจะมีราคาแพงกว่าหลังคาน่าจั่ว ด้วยดีไซน์ และวัสดุ และการก่อสร้างที่ต้องใช้งบประมาณมากกว่านั่นเอง แต่โดยรวมแล้ว ก็ยึงถือว่าคุ้มค่า เพราะแลกมาด้วยความยืดหยุ่น และความแข็งแรงทนทานที่มากขึ้น
หลังคาทรงจั่วตัด
ถ้าคุณเห็นหลังคา ที่มีลักษณะเป็นการผสมผสานกันระหว่างสองรูปทรง ทั้งแบบหน้าจั่ว และแบบปั้นหยา เข้าด้วยกัน เราสามารถเรียกหลังคาเหล่านั้นได้ว่า ทรงจั่วจัด หรือ Jerkinhead Roof นั่นเอง เป็นอีกหนึ่งในประเภทที่ขาดไม่ได้ ในหัวข้อ หลังคามีกี่แบบ ซึ่งในภาษาอังกฤษ ยังสามารถเรียกได้อีกหลายชื่อ ได้แก่ Clipped Gable หรือ English Hip Roof
ดีไซน์ของหลังคาแบบนี้มักจะมีลักษณะเป็นทรงปั้นหยา ที่มีด้านหนึ่งมีแนว Slope ลงมาไม่สุดทาง เพื่อให้สามารถเปิดเป็นหน้าต่าง เห็นวิวภายนอกได้นั่นเอง โดยเป็นชนิดที่มีความเสถียร และป้องกันลมแรงได้ดี ยิ่งส่วนยอดของหลังคาสูงเท่าไรห่ ก็ยิ่งมีพื้นที่เก็บของด้านใต้หลังคามากขึ้นเท่านั้น และยังช่วยให้รูปทรงอาคารดูสง่าขึ้นอีกด้วย
เช่นเดียวกับทรงปันหยาและหน้าจั่ว หลังคาทรงหน้าจั่วตัดสามารถมุงได้วัสดุพื้นฐานทั่วไปเช่นกัน อย่างไรก็ตาม ในส่วนค่าก่อสร้างนั้น หลังคาชนิดนี้มักจะมีต้นทุนที่สูงกว่า ด้วยความซับซ้อน และต้องอาศัยความชำนาญของผู้ก่อสร้างอีกด้วย
หลังคาลาดสองชั้น
หลังคาทรงลาดสองชั้น หรือ Mansard Roofs เรียกได้อีกอย่างว่า French Roofs เช่นกัน ถูกดีไซน์ขึ้นครั้งแรกโดนสถาปนิกชื่อ Francois Mansert ซึ่งเป็นที่มาของชื่อนั่นเอง มีลักษระเป็นหลังขา Slope 4 ด้าน ที่มีการเปลี่ยนองศา Slope ณ จุดๆ หนึ่ง ให้มีองศาลาดชันที่น้อยลง
ผลลัพธ์ที่ได้คือ ในส้วนที่ Slope มีความละเอียงมาก สามารถจัดสรรพื้นที่ใช้สอยได้ง่ายขึ้น เพราะภายในจะได้ผนังที่กว้างขึ้น และยังสามารถติดตั้งหน้าต่างได้ง่ายขึ้นอีกด้วย โดยในอาคารที่มีความหรูหรา อาจออกแบบส่วนหน้าต่างให้มีงานตกแต่งโดยรอบเพิ่มเติม
ในส่วนที่เอียงนั้น สามารถมีลักษณะโค้ง เว้า ได้เช่นกันแล้วแต่ดีไซน์ของสถาปนิก โดยวัสดุมุงนั้น ควรจะเป็นพวกโลหะ เพื่อความแข็งแรง และหรูหรา หรือจะใช้กระเบื้องไม้ มุงแบบสลับกันก็สวยงามเช่นกัน
หลังคาลาดเอียงสองชั้นนั้น มักจะมีราคาแพงกว่ารูปทรงอื่นๆ เพราะต้องมี Detail การก่อสร้างที่ละเอียดขึ้น รวมถึงต้องใช้ความชำนาญในการก่อสร้างที่สูงขึ้นด้วย แต่ก็อาจจะแลกมาได้ด้วยความคุ้มค่าของพื้นที่ใช้สอยภายในที่จัดสรรได้ง่ายขึ้น บ้านสมัยใหม่จึงนิยมออกแบบโดยใช้หลังคาลักษณะนี้มากขึ้น
อีกสิ่งที่ต้องคำนึงถึงในการเลือกใช้หลังคาประเภทนี้ คือ ในส่วนลาดเอียงด้านล่างที่นั้น ควรจะสามารถกันน้ำได้อย่างดี เพราะจะเป็นส่วนที่น้ำไหลผ่านรวดเร็ว
หลังคาแกมเบรล
บทความ หลังคามีกี่แบบ นั้น จะขาดรูปทรง Gambrel Roofs ไปไม่ได้ โดยสามารถเรียกอีกอย่างได้ว่า Barn Roofs เช่นกัน เพราะนิยมใช้กับอาคารประเทศโรงนา นั่นเอง
หลังคาแกมเบรล มีลักษณะคล้ายคลึงกับ หลังคาลาดสองชั้น หรือ Mansard Roof ในหัวข้อก่อนหน้า จะต่างกันเพียงแค่ Gambrel Roofห จะมีด้านเอียงเพียงแค่ 2 ด้าน หรือเรียกให้เข้าใจง่ายๆ มันก็คือหลังคาหน้าจั่วที่มีสองระดับลาดชั้นนั่นเอง
หลังคาชนิดนี้ ตรงด้านเอียง โซนด้านล่างจะมุมองศาที่สูงกว่าด้านบน สามารถสร้างเป็นพื้นที่ห้องใต้หลังคาได้เช่นกัน ชื่อของมันในภาษาละตินคือ Gamba และในภาษาฝรั่งเศสคือ Gamberal ซึ่งมีความหมายว่าขาของม้า
หลังคาแกมเบรล นิยมใช้กับบ้านแบบ Dutch Colonial หรือ Georgian Style เช่นเดียวกับโรงนาตามพื้นที่ชนบท, บ้านในฟาร์ม และกระท่อมตามต่างจังหวัด รวมถึงโรงจอดรถเช่นกัน
เป็นหลังคาที่สามารถดีไซน์ให้เป็นรูปแบบทั้งดูคลาสสิค พื้นบ้าน และหรูหรา ได้ ทำให้เป็นหนึ่งในรูปทรงที่มีความยืดหยุ่นที่สุด
มักดีไซน์คู่กับหน้าต่าง
หน้าต่างหรือ Dormers Window มักเป็นองค์ประกอบที่ถูกหยิบเข้ามาเสริมเข้าไปในหลังคาแบบ Gambrel Roof เพื่อช่วยให้แสงธรรมชาติเข้าถึงภายในอาคารด้านใต้หลังคาได้มากขึ้น และยังช่วยให้ตัวอาคารดูสง่างามมากขึ้นด้วย แต่ก็ต้องแลกมาด้วยความเสี่ยง ที่จะเกิดน้ำรั่วได้มากขึ้นเช่นกัน ดังนั้น จึงต้องมีการหมั่นคอยตรวจสอบรอยต่อ Flashing โดยรอบหน้าต่างอย่างสม่ำเสมอ โดยเฉพาะในช่วงที่ฝนกตกบ่อยๆ
หลังคาแบบนี้ใช้จันทันแค่สองอัน แต่เพิ่มข้อต่อเข้าตรงกลางเพื่อเปลี่ยนมุมองศา จึงไม่ต้องลงทุนสูงมากนัก โดยมักจะมุงด้วยกระเบื้องไม้, ดินเผา หรือ หิน เป็นหลัก
หลังคาซอลท์บ็อกซ์
หลังคาแบบ Saltbox Roof มักพบในหลังคาบ้านแบบ Colonial สมัยก่อน หรือบ้านสไตล์ Cape Cod-Style โดยมักมีดีไซน์ที่ไม่สมมาตรกันทั้งสองด้าน
ด้านเอียงด้านหนึ่งของ Saltbox Roof จะมีด้านเอียงด้านหนึ่งเป็นเหมือนหลังคาหน้าตัวปกติ ในขณะที่อีกด้านหนึ่งจะลาดยาวกว่า โดยอาจลาดยาวไปพิงโครงสร้างอื่น เช่นเสาภายนอก ได้เช่นกัน
ชื่อของ Saltbox Roof มาจากกล่องใส่เกลือที่ขายใน New England สมัยก่อน โดยเดิมที รูปทรงหลังคาชนิดนี้กำเนิดขึ้นที่ส่วนตะวันออกของสหรัฐอเมริกา โดยมีการต่อเติมจากหลังคาหน้าจั่วด้านหนึ่งให้ยาวขึ้น เพื่อให้ได้พื้นที่ใต้หลังคาที่มากขึ้น หลังจากนั้นหลังคาชนิดนี้ก็ได้รับความนิยมขึ้น และถูกนำไปสร้างกับที่อยู่อาศัยเป็นหลัก สามารถมุงได้วัสดุมาตรฐานทั่วไป เช่นเดียวกับหลังคารูปทรงอื่นๆ โดยอาจมีราคาในการก่อสร้างสูง เพราะต้องใช้พื้นที่ในการมุงหลังคามากขึ้น
หลังคาปีกผีเสื้อ สามารถสร้างรูปลักษณ์ที่สวยงาม และเหมาะกับบ้านสไตล์ Contemporary หรือในบ้านในพื้ที่แห้งแล้ง เพราะร่องด้านลึกบริเวณตรงกลาง สามารถดีไซน์ให้กักเก็บน้ำฝนได้นั่นเอง
นอกจากนี้ บ้านทรงหลังคาแบบนี้ จะสามารมีด้านที่มีผนังสูง ทำให้มีหน้าต่างที่ใหญ่ สามารถนำแสงธรรมชาติเข้าสู่ตัวอาคารได้มากขึ้น ง่ายต่อการติดตั้ง PV Solar Panels อีกด้วย
ในส่วนการก่องสร้าง หลังคาทรงปีกผีเสื้อนั้น ค่อนข้างก่อสร้างได้ยาก และต้องอาศัยความชำนาญ จึงอาจจะมีราคาค่อนข้างสูง และต้องออกแบบในส่วนท่อระบายให้ดี เนื่องจากน้ำจากทั้งสองฝั่งจะไหลมารวมกันบริเวณตรงกลาง ในปริมาณทั้งหมดที่หลังคาได้รับเลยทีเดียว
และด้วยหน้าต่างที่สูงขึ้น อาจะทำให้การควบคุมอุณหภูมิภายในบ้านทำได้อยากขึ้น จึงต้องคำนึงถึงในส่วนนี้ด้วย
หลังคาฟันเลื่อย เริ่มได้รับความนิยมมากขึ้นในบ้านสมัยใหม่สไตล์ Modern เพราะช่วยให้พื้นที่ภายในมีเพดานที่สูงขึ้น, หน้าต่างที่กว้างขึ้น และพื้นที่ใช้สอยที่มากขึ้น แต่ยังคงระบายน้ำได้ดีนั่นเอง
อย่างไรก็ตาม หลังคารูปแบบนี้นั้น มีค่าติดตั้งที่สูงมาก รวมถึงการดูแลรักษาเช่นกัน เพราะการดีไซน์ที่ค่อนข้างซับซ้อน และยังมีความเสี่ยงในการรั่วซึมของน้ำมากกว่ารูปทรงอื่นๆ
Sawtooth Roof สามารถติดตั้งองค์ประกอบเพื่อสิ่งแวดล้อมได้เช่นกัน อาทิเช่น แผงโซลาร์เซลล์ เป็นต้น ในส่วนวัสดุมุงนั้น สามารถใช้วัสดุพื้นฐานทั่วไปได้เช่นกัน ไม่ว่าจะเป็น กระเบื้องไม้, เหล็ก หรือคอนกรีตเสริมแรง เป็นต้น
หลังคาทรงปิรามิด
เป็นอีกรูปทรงที่น่าสนใจในหัวข้อ หลังคามีกี่แบบ ซึ่งจากชื่อของมัน คือ หลังคาทรงปิรามิด หรือ Pyramid Roof เชื่อว่าหลายๆ ท่านก็น่าจะเดาได้ไม่ยาก ว่ามันต้องมีรูปทรงเหมือนปิรามิดแน่นอน
หลังคาชนิด ก็คือทรงปั้นหยา ที่คานอกไก่แนวยาวนั่นเอง ซึ่งมักจะออกแบบบนบ้านที่มีขนาดเล็ก อย่างเคบิน, บังกะโล, โรงจอดรถ หรือเพิงเล็กๆ เป็นต้น
หลังคาปิรามิด เหมาะกับสถานที่ที่สภาพอากาศโหดร้าย เพราะมีความแข็งแรงทนทานต่อพายุหลากหลายรูปแบบ และยังให้พื้นที่ใต้หลังคาที่สามารถใช้สอยได้อีกด้วย และยังสามารถยื่นชายคาออกมาทั้ง 4 ด้าน ช่วยกันแดดได้มากขึ้นอีกด้วย
Pyramid Roof นั้นมีค่าก่อสร้างที่ค่อนข้างสูง และการดูแลรักษาที่ยาก เพราะความซับซ้อนในการดีไซน์และก่อสร้าง แต่ให้ผลประโยชน์ในระยะยาวที่คุ้มค่าเช่นกัน สามารถมุงได้ด้วยวัสดุพื้นฐานที่หลากหลาย เช่นเดียวกับรูปทรงอื่นๆ ด้วย
หลังคาโดม มีราคาก่อสร้างที่สูงมากๆ อาจจะมากที่สุด ไม่ว่า หลังคามีกี่แบบ ก็อาจจะมีต้นทุนในการสร้างสู้ Dome Roof ไม่ได้ แต่ก็แลกมาด้วยความทนทานที่แข็งแรงมากๆ เหมาะสำหรับใช้ก่อสร้างในบริเวณหลังคาหลักของอาคาร
วัสดุที่ใช้สร้างนั้น อาจจะเป็น Shingles, เหล็ก หรือแม้กระทั่งกระจก ก็สามารถนำมาปูได้ แต่ก็ควรเลือกวัสดุที่ไม่จำเป็นต้องคอยดูแลรักษาบ่อย เพราะการต้องปีนขึ้นไปบ่อยๆ อาจจะส่งผลเสียต่อโครงสร้างอาคารได้นั่นเอง
หลังคาเพิงแหงน
บทความ หลังคามีกี่แบบ จะไม่สมบูรณ์ถ้าขาดหลังคาชนิดนี้ไปอย่างแน่นอน เพราะเป็นแบบพื้นฐานที่เป็นที่นิยมทั่วโลก
หลังคาเพิงแหงน หรือเพิงหมาแหงน มีภาษาอังกฤษคือ Skillion, Shed หรือ Lean-to Roof ซึ่งมีลักษณะเป็นหลังคาแผ่นเดียวที่มีองศาเอียงแบบ Slope ไปยังด้านใดด้านหนึ่ง ทำให้เกิดผนังที่สูงไม่เท่ากันทั้ง 2 ด้าน เหมาะสำหรับใช้สร้างบนโครงสร้างต่อเติม โดยติดตั้งด้านสูงกับผนังของอาคารเดิม
หลังคาเพิงแหงนมีข้อดีคือถ้าอาคารตั้งอยู่บริเวณบนภูเขาหรือที่ลาดเอียง จะสามารถช่วยระบายน้ำได้อย่างดี โดยทำการเอียงมุมต่ำลงสู่บริเวณพื้นที่ต่ำกว่านั่นเอง
หลังคาชนิดนี้มีราคาค่าก่อสร้างที่ค่อนข้างถูก เพราะไม่มีความซับซ้อนในการก่อสร้างเท่าไหร่ ในส่วนวัสดุมุง เหล็กถือเป็นวัสดุที่เหมาะสมที่สุด เพราะรองรับการติดตั้ง Solar Panel เพิ่มเติมได้ ช่วยให้สามารถกักเก็บพลังงานเสริมไว้ใช้
หลังคาทรงโค้งกลม
อีกหนึ่งรูปแบบที่โดดเด่นของบทความ หลังคามีกี่แบบ ของเรา โดยมีมีลักษณะพื้นฐานเหมือนกับหลังคาเพิงแหงน หลังคาทรงโค้งกลม หรือ Curved Roof นั้น มักจะสร้างบนโครงสร้างเสริมที่ติดตั้งส่วนด้านสูงไว้กับกำแพงอาคารเดิม แต่สิ่งที่แตกต่างกัน คือหลังคาโค้งจะมีลักษณะพื้นผิวโค้ง แทนที่จะเป็นมุมลาดเอียงเรียบๆ ช่วยเกิดรูปทรงที่น่าสนใจมากขึ้น
Curved Roof สามารถใช้ติดตั้งได้ทุกๆ องค์ประกอบ ไม่ว่าจะเป็น บริเวณทางเข้าโค้ง, โครงสร้างเสริม หรืออาคารทั้งหมด และยังช่วยให้เกิด Space ภายในที่หน้าสนใจ เพราะสามารถออกแบบให้เพดานมีลักษณะโค้งตามหลังคาด้านบนได้
หลังคาโค้งสามารถทนต่อสภาพแวดล้อมได้ทุกรูปแบบ มีความแข็งแรง และนิยมมุงด้วยวัสดุเหล็ก เพื่อเสริมความแข็งแรงให้เต็มที่ขึ้นไปอีกระดับ
หลังคาทรงแบน
หลังคาทรงแบน หรือ Flat Slap Roof เป็นอีกพระเอกของหัวขอ หลังคามีกี่แบบ เพราะเป็นทรงมาตรฐานที่สามารถพบเห็นได้ทั่วไป ในทุกๆ พื้นที่บนโลก โดยมีลักษณะตามชื่อมันเลย คือเป็นทรงแบน ไม่ลาดเอียง หรือลาดเอียงเพียงเล็กน้อยเท่านั้น
หลังคา Flat Roof นิยมมุงด้วยวัสดุที่หลากหลาย โดยมากจะนิยมใช้ยาง EPDM หรือ TPO หรือ PVC ควบคู่กับ ยางมะตอย ฉนวน หรือ เมทัลชีท
ประโยชน์ที่โดดเด่นที่สุดของหลังคาทรงแบน คือสามารถใช้พื้นที่ด้านบนเป็นดาดฟ้าได้ โดยตกแต่งได้ตามต้องการ อาจติดตั้งเพิงหลังคาเพิ่มเพื่อใช้พักผ่อน เป็นพื้นที่สันทนาการได้อีกมากมาย
นอกจากนี้ ยังสามารถใช้เป็นพื้นที่วาง Cooling Units หรืองานระบบต่างๆ อย่างห้องเครื่องลิฟต์ได้อีกด้วย เป็นอีกหนึ่งบริเวณที่สามารถซ่อนองค์ประกอบที่ไม่ต้องการให้คนภายนอกมองเห็นได้
อีกหนึ่งข้อได้เปรียบของ Flat Roof ก็คือ ง่ายต่อการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ เสริมความยั่งยืนให้กับอาคาร เป็นแบบที่นิยมใช้ออกแบบเป็นทรงหลังคาโมเดิร์น
อย่างไรก็ตาม ข้อควรระวังคือ เนื่องจากตัวหลังคาไม่มีความลาดเอียง จึงไม่สามารถระบายน้ำได้ดีเท่ากับหลังคาทรงอื่นๆ ดังนั้น จึงต้องมีงานระบบ และการวางท่อระบายน้ำที่ดี ออกแบบให้เหมาะสมตั้งแต่เริ่มต้นโครงการ
หลังคาเขียว
และหลังคาชนิดสุดท้าย ที่ขาดไม่ได้สำหรับบทความ หลังคามีกี่แบบ ของเรา ได้แก่ หลังคาเขียวหรือ Green Roof นั่นเอง
หลังคา Green Roof ก็คือหลังคาทรงแบนหรือ Flat Roof ที่มีการปลูกสวนหรือต้นไม้ เพื่อสร้างเสริมสิ่งแวดล้อมให้ดีขึ้น และยังเป็นการลดความร้อนให้กับตัวอาคารได้อีกด้วย นิยมสร้างกันใน Green Building
> อ่านบทความ Green Building คืออะไร
ขอบคุณข้อมูลจาก Restorbuilders.com
ตัวอย่างการก่อสร้าง Green Roof
สรุป
หวังว่าบทความนี้ จะทำให้เพื่อนๆ ได้เข้าใจกันมากขึ้นวา หลังคามีกี่แบบ มีกี่ประเภท กี่รูปทรง และแต่ละทรงนั้นต่างกันอย่างไร แบบไหนดี มีข้อดี ข้อเสียยังไง้บาง โดยเราได้มีรูปประกอบพร้อมคำอธิบายให้ทราบกันทุกๆ แบบเลยเพื่อความเข้าใจที่ง่ายขึ้น
ไม่ว่าหลังคาของคุณจะเป็นแบบไหนก็ตาม ก็ต้องอาศัยการดูแลรักษา และค่อยซ่อมแซมอยู่อย่างสม่ำเสมอ การเข้าใจธรรมชาติ และข้อดีข้อเสียของหลังคาแต่ละแบบ ถือเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อให้เราสามารถเตรียมตัวป้องกัน และแก้ไขปัญหาที่อาจะเกิดขึ้นได้ทันท่วงที เมื่อเราเข้าใจแล้วว่า หลังคามีกี่แบบ ก็จะสามารถเริ่มคำนึงถึงการเลือกใช้ตั้งแต่ขั้นตอนการออกแบบเบื้องต้น เพื่อให้ได้รูปทรงหลังคาที่สวยงามเหมาะสมกับอาคาร และมีประโยชน์ในการใช้สอยตามต้องการ