แนวคิดในการออกแบบ
ความสัมพันธ์ระหว่างบริบทสภาพแวดล้อมกับพื้นที่สำหรับการอยู่อาศัยที่สามารถตอบโจทย์ สายลม แสงแดด ต้นไม้ ให้เกิดความเป็นส่วนตัวและปลอดภัยแต่ยังคงมีการปฏิสัมพันธ์กับบริบทภายนอกได้อย่างสมบูรณ์ ที่ดินขนาด 30 ตารางวา ที่แบ่งเป็นที่ดินจัดสรรสำหรับเพื่อการอยู่อาศัย ด้านหน้าและด้านหลังเป็นถนนสาธารณะ ด้านซ้ายด้านขวาเป็นพื้นที่โล่งว่าง โดยพื้นที่โดยรอบจะเป็นบ้านพักอาศัยทั้งหมด ซึ่งในอนาคตที่โล่งว่างที่ติดกับบ้านที่ดินข้างเคียงอาจพัฒนาต่อไปในอนาคต ซึ่งจากการวิเคราะห์พื้นที่ตั้งอาคารทำให้เกิดโจทย์การแก้ปัญหาในการออกแบบที่จะต้องสร้างพื้นที่ส่วนตัวสร้างบรรยากาศใหม่ในบ้านที่ดีกว่าขึ้นมาทดแทน สร้างพื้นที่ปลอดภัยแต่ยังมีการปฏิสัมพันธ์กับบริบทสภาพแวดล้อมภายนอกได้
แนวทางการวางอาคาร
โดยที่ดินมีข้อที่ได้เปรียบสำหรับการวางทิศทางของอาคารคือ ที่ดินเป็นรูปทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้าและสามารถวางอาคารให้ไม่ขวางตะวันได้ ทำให้อาคารหลังนี้หันหน้าทางทิศเหนือได้รับลมในทิศทางที่ดีตามหลักทฤษฎีในการออกแบบ
ทางด้านทิศตะวันออกกำหนดให้เป็นพื้นที่กใช้งานหลักภายในอาคาร ส่วนทางทิศใต้เป็นส่วนของโถงบันไดซึ้งจะทำหน้าที่เป็น Buffer ระหว่างความร้อนกับพื้นที่หลักภายในอาคาร อีกทั้งยังใช้ประโยชน์จากแสงแดดที่เข้ามาทั้งวัน ทำให้ไม่ต้องเปิดไฟช่วยในการประหยัดพลังงานได้อีกด้วย
ส่วนทิศตะวันตกแก้ปัญหาด้วยการทำเป็น Courtyard ที่เป็น Double volume สูงขึ้นไปถึงหลังคาเพื่อทำหน้าที่ระบายความร้อนที่จะเข้ามาทางด้านทิศตะวันตกและยังมีหน้าที่เป็น Skin Façade ในการระบายความร้อนที่ผนังได้อีกด้วย นำมาเป็น “แนวความคิดกล่องต้นไม้” คือการสร้างพื้นที่อาคารให้โอบล้อมพื้นที่สีเขียวให้เป็นพื้นที่ส่วนกลางภายในอาคาร ใช้เป็นพื้นที่พักผ่อน พื้นที่ปิดกั้นเกิดความเป็นส่วนตัวและรู้สึกปลอดภัยจากบริบทภายนอก ตัวอาคารจึงถูกออกแบบให้เป็นกรอบล้อมรอบ ตั้งแต่ชั้นของรั้ว คอร์ดภายในอาคาร
การเลือกก่อผนังด้วยอิฐช่องลมที่มีการจัดวางด้วยการออกแบบ Pattern ที่เป็นเอกลักษณ์มีระยะของความลึกที่บดบังมุมมอง ทำให้คนที่อยู่ภายนอกไม่สามารถมองเห็นภายใน ต่างจากภายในที่ยังสามารถมองเห็นพื้นที่ภายนอกได้อย่างชัดเจน
การเจาะช่องเปิด
Void ช่องเปิดด้านข้างมีการใช้อิฐช่องลมมาออกแบบ Pattern ให้เกิดความน่าสนในทั้งในเวลากลางวันและเมื่อนำมาเล่นกับแสงไฟในเวลากลางคืน นอกเหนือจากนั้นมีแนวคิดให้ช่วยในเรื่องการระบายอากาศ ความร้อน ทำให้อากาศถ่ายเท แทนที่บริเวณรอบนอกที่ได้ปิดกั้นไป บริเวณ Courtyard นี้เองจะเป็นพื้นที่ใหม่ที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อเชื่อมต่อระหว่างบริบทภายนอกและภายในเป็นพื้นที่ที่ดักลมได้เป็นอย่างดีช่วยให้อาคารมีลมไหลเวียนได้ดีมากยิ่งขึ้นด้วย หรือเรื่องปรากฏการณ์แสงเงา การเปลี่ยนแปลงขององค์ประกอบ มีบริบทของธรรมชาติเข้ามาสอดคล้อง ผสมผสานอย่างละนิดละหน่อย จนลงตัวให้เกิดเป็นบ้านที่มีเรื่องราวที่ซ่อนการใช้ชีวิตอยู่ภายใน
การออกแบบภายใน
การออกแบบภายในเลือกเป็นโทนสีขาวในแบบ Minimal Style จากความชอบส่วนตัวของเจ้าของ ที่ต้องการบ้านที่ดูเรียบง่ายที่สุด แต่ดูเหมือนมีอะไรถ้าเข้ามาได้สัมผัส ซึ่งการใช้สีขาวในการออกแบบยังช่วยให้พื้นที่ภายในสว่างขึ้นอีกด้วย พื้นที่ส่วนกลางของบ้านได้แก่ ส่วนพื้นที่พักผ่อน ที่เป็นส่วนที่ใช้งานหลักของอาคารทางเจ้าของบ้านยังเพิ่มพื้นที่ทำงานที่ต้องการเชื่อมต่อกับส่วนพื้นที่พักผ่อน เนื่องจากเจ้าของชอบดูทีวีเวลานั่งทำงานไปด้วย และที่สำคัญคือได้ใกล้ธรรมชาติที่จะทำให้ใจของเราเป็นสุขกับการมอได้มองต้นไม้ที่กำลังเจริญเติบโตได้ด้วย
นอกจากนี้ ทางสถาปนิกได้ออกแบบให้ประตูและหน้าต่างยาวเป็นแนวตามพื้นที่ส่วนกลางของอาคารเพื่อเชื่อมต่อกับพื้นที่ Courtyard ที่โดย พื้นที่ Courtyard ทำไว้สำหรับนั่งพักผ่อน สัมผัสลมภายนอกอาคาร มีสนามหญ้าสีเขียวปลูกต้นอินทนิลใหญ่และต้นไม้ใบใหญ่ต่างๆ ที่ดูแลง่ายและใบไม่ค่อยร่วง ต้นอินทนิลจะสูงขึ้นไปถึงห้องด้านบนที่เป็น Double volume ทำให้เมื่ออยู่บนห้องด้านบนก็ยังคงมองเห็นได้ ส่วนบันไดพื้นที่เชื่อมต่อขึ้นไปบริเวณชั้นบน ออกแบบให้มีช่องแสงทั้งทางด้านข้างและด้านบนหลังคา เพื่อให้พื้นที่บันไดทำหน้าที่ช่วยเป็นช่องแสงให้เข้าไปในพื้นที่ด้านล่างตัวอาคารทำให้ไม่ต้องเปิดไฟในตอนกลางวันช่วยให้ประหยัดพลังงานได้อีกด้วย
ส่วนด้านบนแบ่งเป็นห้องนอน 2 ห้อง ห้องนอนใหญ่และห้องนอนเล็ก โดยมีการออกแบบทางเดินให้เป็นพื้นที่ outdoor เพื่อให้ได้ใกล้ชิดกับธรรมชาติภายนอกก่อนจะเข้าห้องนอน ห้องนอนใหญ่แบ่งเป็นสี่ส่วนคือ ส่วนพื้นที่สำหรับนอน ส่วนพื้นที่แต่งตัว พื้นที่ทำงานและห้องน้ำ โดยพื้นที่ทำงานยังมองเห็น Courtyard ภายในอาคารได้และเป็นเหมือนพื้นที่ command center ของอาคารที่สามารถมองเห็นภายในอาคารได้ทั้งหมด ในส่วนประตูทางเข้าอาคารจะใช้ประตูบานเลื่อนและประตูบานเฟี้ยมขนาดใหญ่ ที่ทำมาจากเหล็กเจาะรูกลมทำหน้าที่แทนเหล็กดัดอีกชั้นในการป้องกันจากคนภายนอกเข้ามาอีกด้วย
Reviews
There are no reviews yet.