แนวคิดในการออกแบบ
ในการออกแบบภายในอาคารโปรเจค บอนไซ ฮันเตอร์ นักออกแบบคำนึงถึงเงื่อนไขการใช้งาน และมี บอนไซ เป็นพระเอกหลัก (Bonsai Centric) ให้ทุกฟังก์ชันของแต่ละอาคารสามารถตอบโจทย์การทำบอนไซตามที่เจ้าของต้องการ โดยแบ่งเป็น 3 อาคาร Bonsai workshop / Bonsai nursery / Bonsai storage
โซน Bonsai workshop แบ่งฟังก์ชันการใช้งานตามเงื่อนไขของการดัดบอนไซที่ต้องมีทั้งโซนแห้ง และโซนเปียก ให้ง่ายต่อการใช้งาน และการทำความสะอาด ใช้กระจกรอบอาคารเป็นจุดเด่นให้ผู้ใช้งานได้เสพสุทรียของต้นบอนไซในโซนจัดแสดงได้อย่างชัดเจน อาศัยแสงธรรมชาติสำหรับการทำบอนไซช่วงเช้า และผสมแสงโทนอุ่น โทนเย็น เป็นความสว่างที่เหมาะสมกับช่วงกลางคืน
โซน Bonsai nursery/ Bonsai storage เราออกแบบภายใต้ปัจจัยการควบคุมแสงและความชื้น เราจึงปรับแบบ 2-3 ครั้ง ให้สามารถควบคุมปัจจัยนี้ได้ตามที่ความต้องการของเจ้าของมากที่สุด พื้นที่นี้เปิดโอกาสให้ผู้ใช้งานได้ศึกษาบอนไซตั้งแต่การเพาะพันธ์ไปถึงขั้นการทำทรีตเม้นท์บอนไซไปพร้อมกัน
ยึดบอนไซเป็นศูนย์กลาง
ในการออกแบบ Lighting ของโปรเจค บอนไซ ฮันเตอร์ เรายึดคอนเซปต์ให้ บอนไซ เป็นศูนย์กลางการออกแบบ เราจึงออกแบบให้ไฟส่องสว่างเน้นไปที่ของต้นไม้ในโซนจัดแสดง เพื่อชูโรงให้บอนไซเด่นที่สุดเมื่อผู้ใช้งานมองออกไปบริเวณลานจัดแสดงจากภายในตัวอาคาร Workshop
ส่วนของไฟอาคารเราติดตั้งไฟเส้น Strip light รอบใต้อาคารทำให้อาคารดูลอยและมีมิติมากขึ้นเมื่อมองอาคารจากภายนอก ในการจัดองค์ประกอบไฟภายในตัวอาคาร เนื่องจากไฟสำหรับการทำบอนไซต้องเป็นไฟสีขาวเพื่อให้เห็นสีจริงของต้นบอนไซมากที่สุุด แต่เนื่องจากสีไฟโดยรวมของพื้นที่รอบอาคารเป็นสีส้ม เราจึงออกแบบโดยใช้ไฟ 2 สี ให้สีไฟภายในอาคารยังกลมกลืนไปกับลานจัดแสดง เราใช้ทั้งไฟส้มที่ส่องขึ้นสะท้อนกับฝ้าไม้ในอาคารเพื่อชูลายไม้ และไฟขาวที่ส่องสว่างลงมาบริเวณโต๊ะทำบอนไซ ทำให้เกิดเป็นมวลรวมของแสงภายในตัวอาคาร ในขณะเดียวกันก็สามารถมองเห็นสีที่แท้จริงของบอนไซได้จากแสงสีขาว
Reviews
There are no reviews yet.