แนวคิดในการออกแบบ
เรื่องราวของการออกแบบบ้านหลังนี้เกี่ยวข้องกับอดีตและความทรงจำของเจ้าของบ้านค่อนข้างมาก เริ่มต้นจากที่ดินแปลงนี้อยู่ในหมู่บ้านชิชาคันทรี่คลับ ซึ่งเป็นหมู่บ้านเก่าประมาณ 35 ปีที่นำเสนอรูปแบบสถาปัตยกรรมแบบนีโอคลาสสิกให้กับลูกบ้าน เจ้าของได้รับโอนมาจากคุณพ่อคุณแม่เพื่อให้ใช้เป็นบ้านของตัวเองและครอบครัว แต่ด้วยความต้องการที่มากกว่าเดิม ประกอบกับบ้านเดิมที่ทรุดโทรม เจ้าของจึงวางแผนที่จะทุบบ้านเดิมทิ้งและสร้างใหม่ขึ้นมา โดยมีเงื่อนไขว่าต้องเก็บต้นไม้ใหญ่หน้าบ้านไว้ เพราะเป็นต้นไม้คู่บ้านและเจ้าของมีความผูกพันกับต้นนี้ตั้งแต่วัยเด็ก
ผสมผสานสไตล์ Neo Classic
ในเรื่องของความต้องการการใช้สอยนั้น จะแตกต่างกันออกไปขึ้นกับรสนิยมและวิธีชีวิตของสมาชิกครอบครัวแต่ละคน อีกทั้งเงื่อนไขของซินแสฮวงจุ้ยก็กำหนดไว้ค่อนข้างเข้มงวด แต่ที่ท้าทายทีมสถาปนิกมากที่สุดคือโจทย์เกี่ยวกับความต้องการที่อยากให้ความโอ่โถงภายในบ้าน และลักษณะหน้าตาของบ้านต้องเรียบเกลี้ยง แต่มีกลิ่นอายแบบนีโอคลาสสิกเพื่อให้สอดคล้องกับความเป็นหมู่บ้านชิชาเดิม
หลังจากที่ได้รับข้อสรุปทั้งหมด เราคิดว่าการออกแบบบ้านหลังนี้จะเป็นโอกาสที่ดีที่ทำให้เราต้องกลับไปศึกษารูปแบบงาน Palladian school และลักษณะงานสถาปัตยกรรมนีโอคลาสสิกอย่างจริงจัง เพื่อให้เรามีหลักออกแบบชัดเจนในการทำงาน ซึ่งผลจากการค้นคว้าทำให้เราได้ข้อสรุปว่าบ้านนี้จะมีคุณลักษณะหลักๆ 3 ประการคือ
ประการแรก ผังของบ้านควรจะจัดการในลักษณะของการวางระเบียบแบบแผนของห้อง และลำดับของห้องเป็นสำคัญ เราต้องเน้นไปที่ดีกรีของความโอ่โถง จากมากไปหาน้อย โดยทั้งนี้มุมมองที่เกิดจากเส้นทางสัญจรจะเป็นตัวที่ร้อยเรียงลำดับเหล่านั้นให้ปรากฏอย่างชัดเจนมากขึ้น กล่าวคือการวางผังด้วยลักษณะแบบนี้จะไม่เน้นถึงเรื่องความลื่นไหลของ space ว่ามุมมองต้องเชื่อมความสัมพันธ์ของพื้นที่ในบ้านเข้าหากัน ยิ่งไปกว่านั้นในแต่ละห้องจะต้องมีคุณสมบัติที่ทำให้รู้สึกถึงความสมดุลแบบสองข้างเท่ากัน
ผังพื้นชั้น 1
ผังพื้นชั้น 2
ผังพื้นชั้น 3
ผังพื้นชั้น 4
ประการที่สอง บ้านหลังนี้จะต้องแสดงออกถึงจังหวะของพื้นที่ทั้งในแปลนและในรูปด้าน ความรู้สึกซำ้ๆของช่องใส่ของ ของเสา ของหน้าต่าง ต้องชัดเจน โดยแต่ละจังหวะจะนำเสนอสเกลที่แตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับดีกรีของความโอ่โถงขององค์ประกอบบ้าน
ประการสุดท้าย รูปด้านของบ้านจะต้องแสดงออกถึงองค์ประกอบหลักสามส่วน ส่วนล่าง (ส่วนตีน) ส่วนลำตัว และส่วนยอด (ส่วนหัว) ซึ่งทั้งสามส่วนจะถูกนำเสนอด้วยวัสดุต่างชนิดกันเพื่อให้ดูแตกต่างกันอย่างชัดเจน กอรปกับวิธีเลือกใช้รูปแบบงานเหล็ก ที่ต้องทำให้บ้านดูอ่อนช้อยขึ้นเมื่อเทียบกับตัวบ้านที่มีความตันและบึกบึน
การจัดสรรพื้นที่ใช้สอย
การใช้งานหลักๆของบ้านจะแบ่งตามชั้น ซึ่งมี 3 ชั้น บวกกับระเบียงบนดาดฟ้า โดยมีรายละเอียดดังนี้
ระดับแรกนั้น ฝ้าเพดานจะไม่สูงมาก อารมณ์เหมือนห้องใต้ดินเพราะแสงเข้าถึงได้ไม่ทั่งถึง ชั้นนี้จึงตั้งใจให้เป็นการใช้งานสำหรับกิจกรรมสันทนาการ กิจกรรมที่เป็นสาธารณะ และกิจกาารมสำหรับส่วนบริการของบ้าน อาทิ ห้องซ้อมดนตรี ห้องเกมส์ ชั้นแสดงของสะสม พื้นที่สวนหน้าบ้านเพื่อกาสังสรรเป็นหมู่คณะ ที่ต้องเชื่อมกับพท้นที่สระว่ายนำ้ได้สะดวก พื้นที่จอดรถประจำวันและรถสะสม พื้นที่ส่วนของผู้ช่วยแม่บ้าน ฯลฯ
ระดับชั้นถัดมา จะเป็นชั้นหลักของบ้าน ต้องโอ่โถง ฝ้าเพดานสูงพิเศษ ออกแบบสำหรับกิจกรรมที่เป็นทางการ โดยเริ่มตั้งแต่ทางเข้าหลักซึ่งจะสามารถเห็นได้ทันทีตั้งแต่อยู่ที่ประตูรั้วบ้าน เมื่อเข้ามาภายใน พื้นที่จะจัดสรรโดยเริ่มตั้งแต่ ที่นั่งรับรองแขก โต๊ะทานอาหารหลัก ห้องสมุด ห้องทำงาน แต่ที่สำคัญและชัดเจนสำหรับผังชั้นนี้คือ การที่จัดให้มีลานนำ้พุอยู่กลางบ้านฝั่งทางทิศใต้ซึ่ง จะโปร่งขึ้นไปสองถึงชั้น สร้างก้อนอากาศของลานให้เชื่อมโยงกับชั้นนี้และชั้นถัดไป รวมถึงเชื่อมโยงตัวลานนำ้พุกับโต๊ะทานอาหาร เรื่อยยาวจนไปถึงระเบียงสระว่ายนำ้ ซึ่งองค์ประกอบเหล่านี้เป็นการถอดรูปแบบมาจากสถาปัตยกรรมแบบนีโอคลาสสิก
ระดับชั้นที่สาม ฝ้าเพดานจะสูงพอดีๆ จัดมีปริมาณแสงธรรมชาติให้เข้ามาในตัวห้องได้มากที่สุด เพื่อให้เจ้าของบ้านควมคุมความสว่างตามใจชอบ เพราะเป็นชั้นเพื่อกิจกรรมที่มีความเป็นส่วนตัวของเจ้าของบ้านและสมาชิกในครอบครัวมากที่สุด เช่นห้องนอน ห้องแต่งตัว ห้องพระและห้องทำสมาธิ อย่างไรก็ตามเงื่อนไขในการออกแบบชั้นนี้จะต้องทำให้ผังมีความยืดหยุ่นพอสมควร อาทิห้องบางห้องต้องเปลี่ยนแปลงการใช้สอยได้ เผื่อแผนการขยายตัวของห้อง หรือเผื่อการควบรวมสองห้องเป็นห้องใหญ่หนึ่งห้อง เป็นต้น เนื่องจากเจ้าของบ้านต้องการเตรียมพร้อมสำหรับการเปลี่ยนแปลงในอนาคตเมื่อลูกๆเติบโตขึ้น
Reviews
There are no reviews yet.