หน้าต่าง เป็นองค์ประกอบที่เชื่อมต่อพื้นที่ภายในอาคารกับโลกภายนอก เป็นส่วนที่ช่วยให้เกิดกรอบมุมมอง, ความเป็นส่วนตัว, ช่องแสง และความธรรมชาติ กับผู้อยู่อาศัย ปัจจุบัน ด้วยเทคโนโลยีการก่อสร้างที่ทันสมัยขึ้น ทำให้มีการคิดค้นหน้าต่างประเภทต่างๆ ใช้งานกันหลากหลายมากมาย บทความนี้เราจะมาสรุปให้ทราบกันว่า หน้าต่างมีกี่แบบ พร้อมข้อดีของแต่ละประเภท
หน้าต่างมีกี่แบบ
ก่อนจะมาดูว่า หน้าต่างมีกี่แบบ เรามาทำความรู้จักกับชิ้นส่วนต่างๆ ของมันก่อน ซึ่งมีหลากหลายมากมาย ขึ้นอยู่กับประเภทของหน้าต่าง แต่โดยส่วนใหญ่แล้ว มักจะประกอบด้วยองค์ประกอบทั้งหมด 4 ส่วน ได้แก่
- วงกบ เป็นกรอบขนาดหนาประมาณ 5 มม. ติดตั้งกับช่องเปิดกำแพงโดยตรง มักทำจากวัสดุที่แข็งแรง อย่างไม้เนื้อแข็ง หรืออลูมิเนียม เป็นต้น ทำหน้าที่เป็นโครง รองรับและเชื่อมต่อหน้าต่างทั้งหมดกับกำแพง
- บานกรอบ เป็นส่วนถัดเข้ามาจากวงกบอีกระดับ ความหนาขึ้นกับการดีไซน์ โดยมากจะยึดกับกระจกอีกที ถือเป็นส่วนสำคัญเพราะเป็นส่วนที่สามารถออกแบบให้มีลักษณะเฉพาะตัวได้ตามต้องการ จึงมีผลกับภาพลักษณ์หน้าต่างพอสมควร
- ลูกฟัก คือส่วนที่ถัดเข้ามาจากบานกรอบอีกที นิยมใช้เป็นกระจกกัน เพื่อให้มองทะลุออกไปได้ รวมถึงช่วยให้แสงธรรมชาติเข้าถึงตัวอาคาร
- บานพับ ข้อต่อที่สามารถพับไปมาได้ ใช้กับหน้าต่างชนิดที่สามารถพับเปิดปิดได้ เช่น บานเปิด หรือบานกระทุ้ง เป็นต้น
จะเห็นได้ว่า องค์ประกอบพื้นฐานของหน้าต่างนั้น มีหลากหลาย และสามารถดีไซน์ให้แตกต่างกันได้ตามต้องการ ดังนั้น การจะแบ่งได้ว่า หน้าต่างมีกี่แบบ ก็ต้องแยกปัจจัยในการแบ่งเป็นหมวดหมู่อีกที ตามสารบัญด้านล่างนี้
แบ่งตามลักษณะการเปิดปิดใช้งาน
ตัวบานกรอบและลูกฟักของหน้าต่างนั้น สามารถดีไซน์ให้เป็นแบบเปิดปิดได้ ตามต้องการ ซึ่งวิธีในการเปิดปิดนั้น ก็มีหลายรูปแบบให้เลือกใช้ การจะแบ่งว่า หน้าต่างมีกี่แบบนั้น ก็สามารถแบ่งตามออกได้ตามลักษณะการเปิดปิดดังนี้
บานเลื่อน
เป็นประเภทหน้าต่างที่มีการเพิ่มรางเลื่อนเข้าไปในส่วนของวงกบ เป็นแนวยาวตามที่ต้องการให้ตัวบานกรอบเลื่อนได้ ข้อเสียของกลไกการเปิดปิดแบบนี้ คือช่องเปิดที่เปิดได้จริง จะเล็กกว่าพื้นที่ทั้งหมดของหน้าต่าง เพราะฝั่งที่ถูกเลื่อนไปทับ ก็จะไม่สามารถเปิดได้เพราะต้องเป็นพื้นที่เก็บบานเลื่อนของอีกฝั่งนั่นเอง
อย่างไรก็ตาม ประเภทบานเลื่อนนั้น เป็นกลไกที่เหมาะกับบริเวณที่มีพื้นที่จำกัด เพราะไม่จำเป็นต้องเผื่อพื้นที่ทั้งภายนอก และภายในอาคาร สำหรับวง Swing พับเปิดปิด
สำหรับบานเลื่อนที่เลื่อน เปิด-ปิด ในแนวนอน ภาษาอังกฤษจะเรียกว่า Sliding Window ในขณะที่แบบ เปิด-ปิด ในแนวตั้ง จะเรียกว่า Sash Window
บานเปิด
หน้าต่างบานเปิด ใช้กลไกการเปิดปิดแบบเดียวกับประตูบ้านทั่วไป คือมีลูกฟัก ที่ติดตั้งกับบานกรอบแบบ Fixed ถาวร แต่อาศัยข้อต่อ ที่เรียกว่า “บานพับ” เป็นองค์ประกอบเชื่อมต่อกับวงกบอีกที ทำให้เปิดปิด ให้อากาศไหลผ่านได้
สิ่งที่ต้องคำนึงถึงเวลาเลือกใช้หน้าต่างประเภทนี้ คือต้องเผื่อพื้นที่ให้มุมองศาการเปิดปิด ทั้งภายใน และภายนอกอาคาร (ขึ้นกับว่าดีไซน์ให้เปิดเข้าหรือเปิดออก) เพราะหน้าต่างบานเปิดนั้นกินที่การเปิดปิดเท่ากับความยาวของบานเลยทีเดียว
หน้าต่างบานพับ มีทั้งรูปแบบเปิดในแนวนอน และแนวตั้ง สำหรับรูปแบบที่เป็นการเปิดแนวตั้งเสยไปด้านบนนั้น เราเรียกกันได้อีกอย่าง ว่าหน้าต่างบานกระทุ้ง นั่นเอง
บานเอียง
จริงๆ แล้ว หน้าต่างแบบบานเอียง อาจจะไม่ใช่ชนิดเราที่เราพบเห็นบ่อยๆ ในประเทศไทย แต่ในยุโรป หรือเมืองหนาวนั้น ถือเป็นที่นิยมค่อนข้างสูง เพราะฉะนั้น ถ้าถามว่า หน้าต่างมีกี่แบบ ก็ควรจะต้องรวมประเภทนี้เข้าไปด้วย
หน้าต่างรูปแบบนี้ นิยมใช้ในห้องน้ำ หรือห้องครัว โดยกลไกการเปิดนั้น ทำงานด้วยข้อต่อแบบ Tilt ซึ่งช่วยให้ตัวบานพับหน้าต่างสามารถเปิดปิดในมุมเอียงแนวตั้งได้ ดังนั้น ส่วนใหญ่หน้าต่างประเภทนี้จึงมักจะมีรูปทรงเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า ที่มีด้านกว้าง ยาวกว่าด้านสูง เพื่อให้ประหยัดเนื้อที่ในการเปิดนั่นเอง
หลายๆ โปรเจค ใช้วิธีซอยหน้าต่างเป็นแนวนอนหลายๆ แผ่น และใช้วิธีเปิดแบบบานเอียง ซึ่งเมื่อซ้อนกันหลายๆ ระนาบ ก็จะกลายเป็นหน้าต่างบานเกล็ด ที่เราคุ้นเคยกันนั่นเอง
บานหมุน
หน้าต่างบานหมุน จะใช้วิธีหมุนตัวบานให้เปิดออก ด้วยแกนแนวตั้งเป็นจุดหมุน โดยแกนนี้มักติดตั้งอยู่บริเวณตรงกลางบาน ไม่ก็เหลื่อมออกมาไม่เยอะมาก กลไกการเปิดแบบนี้ จะทำให้พื้นที่ภายใน และภายนอกอาคารมีบานพับกินที่เข้าออกในเวลาเปิดพร้อมๆ กัน เพราะฉะนั้น ผู้ออกแบบต้องคำนวณระยะการเปิดปิดให้ดี โดยเฉพาะหน้าต่างที่มีขนาดใหญ่
ข้อดีขอการเปิดปิดแบบบานหมุน คือได้พื้นที่ระบายอากาศที่เต็มช่องเปิด
บานเฟี้ยม
หน้าต่างบานเฟี้ยมมีลักษณะคล้ายคลึงกับบานเปิด เพียงแต่มีจำนวนบานและข้อต่อมากกว่า โดยเกิดจากการที่ตัวบานหน้าต่างถูกแบ่งซอยย่อยอีกระดับ และนำข้อต่อบานพับเข้ามาเชื่อมต่อกันอีกที ทำให้สามารถพับเปิดปิดได้โดยไม่กินเนื้อที่ด้านนอก และด้านใน ถือเป็นรูปแบบที่ค่อนข้างไร้ที่ติ เพราะสามารถเปิดช่องเปิดได้เต็มใบ และไม่กินที่
ข้อเสียข้อเดียวของบ้านเฟี้ยม คือต้องมีจำนวนบานกรอบกินที่กระจกค่อนข้างเยอะ ไม่สามารถออกแบบช่องเป็นให้เป็นกระจกใส ใหญ่ๆ เต็มๆ ใบเดียวได้
บานปิดตาย
ถ้าถามว่า หน้าต่างมีกี่แบบ นั้น ก็จะขาดแบบนี้ไปไม่ได้เลย ได้แก่แบบบานปิดตาย หรือบาน Fixed นั่นเอง โดยเป็นหน้าต่างที่ตัวบานพับไม่สามารถขยับได้ คือไม่มีกลไกการเปิดปิดเลยนั่นเอง
โดยมากมักจะประกอบด้วยเพียงวงกบ และตัวกระจกเลย ไม่จำเป็นต้องมีบานกรอบ หน้าต่างประเภทนี้มักจะติดตั้งขึ้นมาเพื่อเป็นช่องแสง หรือให้สามารถมองทะลุไปได้เท่านั้น
แบ่งตามวัสดุวงกบและบานกรอบ
การเลือกใช้วัสดุที่ดี ช่วยให้การป้องกันความร้อน และคายพลังงานได้รวดเร็วขึ้น ซึ่งวัสดุแต่ละอย่างก็มีข้อดีข้อเสียต่างกัน การจะแบ่งว่า หน้าต่างมีกี่แบบ นั้น ก็สามารถจำแนกประเภทตามวัสดุของวงกบและบานกรอบได้เช่นกัน ดังนี้
กรอบอลูมิเนียมหรือเหล็ก
เป็นวัสดุที่มีความแข็งแรง ทนทาน น้ำหนักเบา และดูแลรักษง่าย แต่มีข้อเสียหลักๆ ที่สามารถนำความร้อนได้ดี ทำให้ไม่สามารถทำหน้าที่เป็นฉนวนกันความร้อนได้ดีเท่าไหร่นัก
เพื่อลดอุณหภูมิไม่ให้ไหลผ่านได้เยอะเกินไป กรอบแบบเหล็กควรจะมีวัสดุเบรคขั้นตรงกลาง อาทิเช่น ติดตั้งฉนวนพลาสติคเป็นเส้นลง ระหว่างภายนอกและภายในบานกรอบ และวงกบ ดังนั้น ภายในบานจึงมักจะมีช่องว่าง เพื่อให้สามารถใส่ฉนวนเข้าไปได้นั่นเอง
กรอบคอมโพสิต
เป็นวัสดุสังเคราะห์ ที่เกิดจากการผลิตด้วยวัสดุธรรมชาติ เช่น ไม้ ผสมผสานกับวัสดุสังเคราะห์อย่าง Polymer Plastic กรอบประเภทนี้ใช้ได้ค่อนข้างดี เสถียร แข็งแรงทนทาน มีรูปลักษณ์เสมือนไม้จริง แต่ทนทานต่อความชื้นมากกว่า
กรอบไฟเบอร์กลาส
กรอบจากวัสดุสังเคราะห์ Fiberglass มีความทนทาน และมีช่องว่างอากาศภายใน ซึ่งประโยชน์คือสามารถเสริมฉนวนเข้าไปในช่องว่างเหล่านั้นได้ ทำให้เป็นประเภทที่สามารถป้องกันความร้อนได้ดีมากๆ
กรอบไวนิล
กรอบแบบไวนิลนั้น ทำมาจาก Polyvinyl Chloride หรือ PVC นั่นเอง โดยผ่านกระบวนการ UV Stabilizer เพื่อช่วยให้วัสดุมีความทนทานต่อแสงแดด วัสดุประเภทนี้ ไม่ต้องทาสี และมีความทนทานต่อความชื้นได้ดี นอกจากนี้ ยังมีช่องว่างภายในที่เสริมฉนวนเข้าไปได้ ทำให้ป้องกันความร้อนได้ดีมากๆ เช่นกัน
กรอบคอมโพสิต
กรอบไฟเบอร์กลาส
กรอบไวนิล
กรอบไม้
ถ้าถามว่า หน้าต่างมีกี่แบบ วัสดุแบบกรอบไม้ ต้องเป็นตัวเลือกแรกๆ ที่หลายๆ คนนึกถึงแน่นอน ถือเป็นวัสดุพื้นฐานที่ใช้งานได้ค่อนข้างดี กันความร้อน แต่ต้องอาศัยการดูแลรักษาเป็นประจำ มีความสวยงามและให้ความรู้สึกอบอุ่นแก่ผู้อยู่อาศัย
ผู้ออกแบบหลายๆ คนเลือกใช้บานกรอบไม้ แต่ติดตั้งพื้นผิวภายนอกด้วยแผ่นเหล็กทับอีกที ช่วยให้แข็งแรงมาขึ้น แต่ก็เป็นฉนวนกันความร้อนที่ดีกว่าบานเหล็กทั่วไป
แบ่งตามชนิดกระจก
อีกหนึ่งปัจจัยที่นำมาแบ่งประเภทว่า หน้าต่างมีกี่แบบ ได้ คือชนิดของตัวลูกฟัก ที่มักจะเป็นกระจกใส ให้มองผ่านทะลุออกไปภายนอกได้นั่นเอง ซึ่งกระจกแต่ละชนิดนี้ ก็มีความสามารถในการป้องกันความร้อนไม่เท่ากัน ขึ้นกับเทคโนโลยีที่ใช้ในการผลิตนั่นเอง บทความนี้ขอยกตัวอย่างเทคโนโลยีการเคลือบกระจกที่น่าสนใจ ให้ดูกันว่า กระจกหน้าต่างมีกี่แบบ ดังนี้
ใช้ช่องว่างอากาศเป็นฉนวน
บานกระจกแบบฉนวน คือหน้าต่าง ที่ประกอบด้วยกระจก 2 แผ่นนำมาประกอบกัน โดยให้เหลือช่องว่างอากาศตรงกลาง จากนั้นปิดตายให้ช่องว่างตรงนั้นคงอยู่ตลอดไป เพื่อทำหน้าที่เป็นฉนวนนั่นเอง
กระจก Low-e
การเคลือบสาร Low-emissivity (Low-e) บนกระจก ช่วยควบคุมอุณหภูมิที่ตกกระทบให้ลดลงอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งส่วนใหญ่ กระจกที่เคลือยสารนี้จะมีราคาที่สูงกว่ากระจกธรรมดา 10-15% แต่จากการศึกษา พบกว่าสามารถช่วยประหยัดพลังงานได้ถึง 30-50% เลยทีเดียว
สาร Low-e นั้น มีลักษณะโปร่งใส ทำให้มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า จึงไม่กระทบต่อรูปลักษณ์หน้าต่าง
สำหรับหลายๆ โครงการ ที่มีการใช้หน้าต่างที่ไม่ได้เคลือบสารนี้ แต่เปลี่ยนใจอยากจะใช้ทีหลัง แทนที่จะเปลี่ยนบานกระจกทั้งใบ ก็สามารถซื้อฟิล์มแบบพิเศษ ที่เคลือบสารนี้ไว้แล้ว ในราคาถูก เข้ามาติดกระจกเก่าได้แทน เพื่อประหยัดค่าใช้จ่าย โดยฟิล์มเหล่านี้มี ติดตั้งง่าย และมีอายุการใช้งานค่อนข้างยาวนาน 10-15 ปี เลยทีเดียว
ในปัจจุบัน เนื่องจากปัญหาโลกร้อน ทำให้แสงแดดที่ส่องมาแรงมากขึ้น กระจก Low-e บางรุ่น จึงถูกออกแบบมาในรูปแบบป้องกันรังสียูวี โดยสามารถกันความร้อนได้ถึง 40-70%
บทสรุป
หวังว่าบทความนี้จะช่วยให้ทุกคนได้เข้าใจมากขึ้นว่า หน้าต่างมีกี่แบบ มีกี่ชนิด และสามารถแบ่งประเภทตามปัจจัยใดๆ ได้บ้าง โดยแต่ละรูปแบบนั้น ก็ให้ความสามารถในการระบายอากาศ, รับแสงธรรมชาติ และรูปลักษณ์ที่แตกต่างกัน
โดยทั่วไป การเลือกประเภทของหน้าต่างแค่ชนิดเดียว จะไม่เพียงพอต่อความต้องการใช้งานทั้งโปรเจคได้ เพราะแต่ละโครงการ ก็มีพื้นที่ภายในที่หลากหลาย และควรจะเลือกใช้ผสมหน้าต่างแบบต่างๆ เข้าด้วยกันให้ตอบโจทย์ความต้องการของแต่ละส่วน เพราะหน้าต่าง ถือเป็นหนึ่งในองค์ประกอบที่สำคัญที่สุด เพราะเป็นส่วนหนึ่งของรูปลักษณ์ที่ช่วยแสดงออกถึง Concept ของงาน และยังเป็น Element ที่เชื่อมต่อพื้นที่ภายในกับภายนอกอาคารได้อย่างชัดเจนอีกด้วย