บทความนี้ เราจะมาทำความรู้จักกับ รูปแบบบันได ทั้งหมดกัน ว่ามันมีกี่แบบ สามารถจัดวางเป็นรูปทรงได้กี่ชนิด แบบไหนดี ซึ่งแต่ละประเภท ก็จะมีข้อได้เปรียบ และข้อเสียเปรียบที่แตกต่างกันออกไป ผู้ออกแบบหรือเจ้าโครงการทุกคน จึงควรจะศึกษา และทำความเข้าใจสิ่งที่โดดเด่นของบันไดแต่ละแบบก่อน เพื่อช่วยให้สามารถเลือกใช้งานได้เหมาะสมกับความต้องการของพื้นที่นั้นๆ
รูปแบบบันได ที่นิยมใช้งานในปัจจุบัน
บันไดตรง
บันไดตรง หรือ Straight Stairs คือ รูปแบบบันได ที่ไม่มีการเปลี่ยนทิศทางแม้แต่นิดเดียว ถือเป็นชนิดที่สามารถพบได้ทั่วไป ทั้งในอาคารที่อยู่อาศัย และอาคารพาณิชย์
อาจมีชานพักตรงกลาง
ในบางกรณี ที่ระยะทางของบันไดนั้นค่อนข้างยาว เนื่องจากระยะ Floor to floor มีค่าสูง ผู้ออกแบบจำเป็นต้องเพิ่มบริเวณส่วนชานพักเข้าตรงระหว่างตรงกลางบันได โดยมีกฎหมายกำหนดให้บันไดที่มีความสูงตั้งแต่ 3 เมตรขึ้นไป ต้องมีชานพักความยาวไม่น้อยกว่าความกว้างบันได
ข้อดี
- บันไดตรง ถือเป็นรูปทรงที่สามารถเดินขึ้นลงได้ง่ายที่สุด รวมถึงผลิตได้ง่าย
- เป็นประเภทที่ก่อสร้างได้ง่ายที่สุด ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับรายละเอียดของดีเทลย่อยด้วย
- บันไดตรงสามารถเชื่อมต่อกับบริเวณทางขึ้นชั้นบน และบริเวณทางลงชั้นบน 2 จุดเท่านั้น ทำให้ไม่จำเป็นต้องสร้างโครงสร้างรองรับเพิ่มขึ้นในส่วนใดๆ ก็ตาม
- เป็นรูปแบบที่มีรูปลักษณ์เข้ากับงานดีไซน์ที่เน้นความ Minimal เพราะความเรียบง่ายของตัวมันเอง
- หากเลือกใช้วัสดุที่บาง และโครงสร้างที่ไม่หนาเกิน บันไดตรง สามารถถูกออกแบบให้มีลักษณะโปร่ง มองทะลุได้มากที่สุด เมื่อเทียบกับบันไดแบบอื่นๆ ช่วยให้ไม่บดบังทัศนียภาพด้านหลัง
- ไม่จำเป็นต้องมีชานพัก หากความสูงของ Floor to Floor ไม่เกิน 3 เมตร
- ในส่วนของราวจับ และราวกันตกของบันไดตรง สามารถก่อสร้างได้ง่ายที่สุด และยังสามารถวัดระยะได้ง่าย สะดวกกว่าชนิดของบันไดประเภทอื่นๆ ทั้งหมด
ข้อเสีย
- บันไดทางตรงมีรูปทรงที่ค่อนข้างกินพื้นที่ในแนวยาวมาก ทำให้ต้องมีการวางแผนการจัดวางตำแหน่งผังพื้นที่เหมาะสม ตั้งแต่ขั้นตอนเริ่มตนดีไซน์
- รูปแบบบันได ประเภทอื่นๆ สามารถทำหน้าที่กั้นพื้นที่เพื่อเพิ่มความเป็นส่วนตัวให้กับพื้นที่ชั้นบนและชั้นล่างได้ ในขณะที่บันได้ทางตรง ไม่สามารถแบ่งกันพื้นที่ได้ดีเท่าไหร่นัก
- ที่ความสูง 3 เมตร จำเป็นต้องมีชานพัก ซึ่งสำหรับบันไดทางตรงแล้ว ชานพักจะกินพื้นที่ค่อยข้างเยอะเมื่อเทียบกับบันได้ประเภทอื่นๆ ดังนั้น บันไดประเภทนี้จึงถูกนิยมใช้ในอาคารที่อยู่อาศัยที่ไม่ใหญ่มาก
บันไดรูปตัว L
บันแบบ L Shaped Stair ก็คือบันไดตรง ที่เลี้ยวไปในทิศทางอื่น มักจะมีการหมุนทิศทางที่บบริเวณหลังจากผ่านชานพักนั่นเอง มุมองศามักจะอยู่ที่ 90 องศา แต่ไม่จำเป็นเสมอไป
สำหรับบันไดตัว L บางแบบ ที่มีชานพักใกล้ส่วนพื้นชั้นบน หรือพื้นชั้นล่างมากๆ อาจจัดอยู่ใน หมวดหมู่ย่อยลงไปอีกระดับ เรียกว่า รูปแบบบันได แบบ Long L Stair หรือ Quarter Turn Stair
บันไดประเภทนี้ ถือเป็นอีกหนึ่งในชนิดที่เป็นที่นิยม สามารถพบเห็นได้ทั่วไป ในอาคารทุกประเภท ตั้งแต่ที่อยู่อาศัยไปจนถึงอาคารพาณิชย์เช่นกัน
ข้อดี
- บันไดทรง L Shape สามารถออกแบบให้มีดีไซน์ที่น่าสนใจ หรือเพิ่มลูกเล่นต่างๆ ได้ง่าย
- สามารถทำหน้าที่เป็นองค์ประกอบสำหรับแบ่งกัน Space ระหว่างชั้น เพื่อเพิ่มความ Privacy
- ช่วยลดปริมาณเสียงที่ส่งผ่านจากชั้นสู่ชั้นได้ โดยเฉพาะเมื่อบันไดมีการติดตั้งกับผนัง ด้านใดด้านหนึ่ง หรือทั้งสองด้าน
- มีความปลอดภัยในการใช้งานมากกว่าบันไดแบบทางตรง เพราะระยะในการตกบันไดสั้นกว่าเนื่องจากมีมุมเลี้ยวตรงชานพัก
- สามารถติดตั้งบริเวณมุมห้องได้อย่างดี และประหยัดเนื้อที่ หากมีการออกแบบมาอย่างดีตั้งแต่ขั้นตอนดีไซน์
ข้อเสีย
- การก่อสร้างบันไดแนวตัว L อาจจะมีความยาก และซับซ้อนกว่าแบบทางตรง
- มักจะต้องมีโครงสร้างรองรับสำหรับส่วนชานพัก ซึ่งส่วนใหญ่ จะถูกออกแบบให้ตัวบันไดล้อไปกับมุมกำแพงเพื่อฝากโครงสร้างไว้กับตัวกำแพง เพื่อให้ไม่ถูกสังเกตเห็น
- ในกรณีที่จำเป็นต้องแสดงโครงสร้างบันไดให้เห็นทั้งหมด ส่วนรองรับโครงสร้างอาจจะต้องถูกออกแบบให้บางและเบา ซึ่งอาจจะทำให้มีค่าใช้จ่ายสูงขึ้น
- มือจับและราวกันตกของ รูปแบบบันได ชนิดนี้ อาจจะต้องใช้ความชำนาญในการออกแบบและก่อสร้างมากกว่าบันไดแนวตรง
- อาจจะไม่เหมาะกับการใช้งานในห้องเก็บของ หรือห้องใต้ดิน เพราะพื้นที่เหล่านั้น จำเป็นต้องมีการขนย้ายสิ่งของขนาดใหญ่เข้าออกตลอดเวลา บันไดทรง L อาจทำให้การขนย้ายขึ้นลงลำบาก
บันไดตัว U
บันไดแบบ U Shaped Stair ประกอบไปด้วยบันไดแนวตรง ที่ทิศทางตรงข้ามกัน 2 อัน เชื่อมต่อกันด้วยชานพัก ทำให้เกิดเส้นทางเดิน ที่หมุน 180 องศา
เป็น รูปแบบบันได ที่พบได้ทั่วไปเช่นกัน โดยเฉพาะในอาคารที่มีพื้นที่จำกัด
ข้อดี
- บันไดตัว U สามารถจัดวางได้สะดวก พอดีกับผังพื้นรูปแบบต่างๆ ได้อย่างง่ายดาย
- มีรูปลักษณ์ และสามารถออกแบบดีไซน์ให้มีความน่าสนใจได้
- บริเวณชานพัก ช่วยให้เกิดจุดพักระหว่างทาง
ข้อเสีย
- เป็นชนิดบันไดที่ก่อสร้างได้ค่อนข้างยาก และซับซ้อน เมื่อเทียบกับบันไดแนวตรงทางเดียว
บันไดเลี้ยว
บันไดเลี้ยว หรือ Winder Stair ก็คือบันไดแบบ L Shaped ชนิดหนึ่งนั่นเอง แตกต่างกันตรงที่ บริวเณชานพักนั้น จะไม่ใช่แนวราบเท่ากันหมด แต่จะเป็น Step บันไดทรง สี่เหลี่ยมคางหมู หรือสามเหลี่ยม ขึ้นไปแทน
บันไดชนิดนี้ สามารถสร้างได้ในข้อจำกัดที่ความสูงจากพื้นชั้นล่างไปยังพื้นชั้นบน ไม่เกิน 3 เมตรเท่านั้น เพราะบริเวณชานพักที่เป็น Step ขั้นบันได จะไม่ถือว่าเป็นชานพักตามกฏหมายนั่นเอง
บันไดชนิดนี้ นิยมติดตั้งใช้งานเป็นบันไดรอง เนื่องจากมีรูปลักษณ์ที่ไม่โอ่โถง กะทัดรัด เช่น บันไดห้องเก็บของ บันไดส่วนห้องครัว เป็นต้น
ข้อดี
- ข้อดีหลักๆ ของบันไดเลี้ยวเลย ก็คือประหยัดเนื้อที่ได้มาก เมื่อเทียบกับ รูปแบบบันได ชนิดและรูปทรงอื่นๆ
- มีรูปลักษณ์ที่แปลกตา น่าสนใจ สามารถติดตั้งล้อไปกับมุมห้องได้ ทำให้ถูกนิยมนำไปใช้กันในดีไซน์บ้านสมัยใหม่แบบ Modern เพราะความกะทัดรัด ช่วยสร้างความน่าดึงดูดให้กับบ้านแบบพอเพียง Minimal
ข้อเสีย
- บันไดเลี้ยว ค่อนข้างวัดระยะได้ยาก
- การก่อสร้างและติดตั้งราวจับ และราวกันตกทำได้ยากกว่าบันไดประเภทอื่นๆ ต้องอาศัยการคำนวณที่แม่นยำ
- เช่นเดียวกับบันไดแนวทรงตัว L บันไดเลี้ยวจำเป็นต้องมีโครงสร้างเสริมด้านใต้ เพื่อรองรับชานพัก
บันไดเวียน
บันไดเวียน หรือบันไดหมุน เรียกว่า Spiral Stair นั่นเอง มีรูปทรงวนเป็นวงกลม โดยมากมักจมีดีไซน์ที่กะทัดรัดมากๆ และมีเส้นทางเดินที่วนรอบเสาหลัก บริเวณตรงกลางเป็นแกนของบันได
รูปแบบบันได แบบบันไดวนนี้อาจจะไม่ค่อยมีให้เห็นมากนัก โดยอาจจะสามารถพบเห็นได้ตามพื้นที่ Service Area ที่มีพื้นที่จำกัดมากๆ เป็นหลักเท่านั้น หรือในบริเวณระเบียงด้านหน้าบ้านหรูๆ ที่มี Balcony สองชั้น หรือบ้านแบบสไตล์ Loft
ข้อดี
- หนึ่งในข้อได้เปรียบหลักๆ ของบันไดเวียน คือความกะทะรัด ประหยัดเนื้อที่นั่นเอง
- บันไดแบบเวียน ชนิดนี้ มีดีไซน์ที่ดึงดูด น่าสนใจ สามารถออกแบบให้สวยงามได้ โดยเฉพาะในส่วนราวจับ และราวกันตก ที่โค้งมนไปกับตัวทิศทางบันได ช่วยสร้างจุดเด่นให้กับ Space
- เพราะเสาหลักตรงกลาง ทำหน้าที่เป็นโครงสร้างหลักในการรองรับน้ำหนักบันไดทั้งหมด ทำให้ตัวบันไดเอง ไม่จำเป็นต้องมีโครงสร้างเสริมอื่นๆ เพิ่มเติมเข้ามา เพียงแค่เสาต้นเดียวตรงกลาง ก็ติดตั้งได้อย่างแข็งแรง ทำให้ติดตั้งได้ง่ายมากๆ
ข้อเสีย
- บันไดหมุน ถือว่าใช้งาน และนำทิศทางได้ยาก เมื่อเทียบกับ รูปแบบบันได ชนิดอื่นๆ ด้วยเหตุนี้ กฏหมายของหลายๆ ประเทศ จึงไม่อนุญาติให้ใช้บันไดเวียน เป็นบันไดหลักในการขึ้นอาคารชั้น 2 ดังนั้น
- เนื่องจากการเดินขึ้นลงลำบาก จึงแนะนำให้เผื่อเส้นรัศมีไว้ให้เยอะกว่า 1.5 เมตรขึ้นไป
- ยากต่อการขนของ หรือเคลื่อนย้ายสิ่งต่างๆ ขึ้นลง
- ด้วยความแคบ และทิศทางที่ไม่ใช่แนวเส้นตรง ทำให้บันไดชนิดนี้ เหมาะกับการใช้งานแค่ทีละคนเท่านั้น
บันไดโค้ง
คล้ายๆ กับบันไดเวียน บันไดโค้ง หรือ Curved Stair มีทิศทางล้อไปกับเส้นโค้ง แต่ในเส้นโค้งที่มีรัศมีสูงกว่าบันไดเวียนมาก ทำให้บันไดโค้งเอง ไม่ได้วนจนกลับมาจบที่ตำแหน่งเดิมเป็นวงกลม
บันไดโค้งนั้น ให้ความรู้สึกหรูหรา แก่อาคารทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นที่อยู่อาศัย หรืออาคารพาณิชย์ ด้วยเหตุนี้ รูปแบบบันได ชนิดนี้ จึงเป็นที่นิยมใช้กันในบริเวณโถงทางเข้า เพื่อเสริมสร้างความประทับใจแรกให้แก่ผู้เข้าใช้อาคาร
ข้อดี
- บันไดแบบเส้นโค้ง มีความหรูหรา และคลาสสิค แต่ก็ยังสามารถออกแบบให้ดูทันสมัยได้
- สามารถเดินขึ้นลงได้ง่าย เพราะรัศวีวงโค้งที่สูง ทำให้ทิศทางไม่เลี้ยวเยอะเกินไป
ข้อเสีย
- บันไดโค้งนั้น ถือเป็นหนึ่งในประเภทของบันไดที่ก่อสร้างได้ยากที่สุดเลยทีเดียวก็ว่าได้ ซึ่งถือเป็นโจทย์ที่ยากสำหรับผู้ผลิตและผู้รับเหมาก็ว่าได้ ด้วยเหตุนี้ จึงมีราคาก่อสร้างที่สูงมาก
บันไดลอย
บันไดลอย หรือเรียกอีกอย่างว่า บันไดท้าวแขนเดียว มีชื่อภาษาอังกฤษว่า Cantilever Stair ถูกออกแบบมาเพื่อให้ผู้ที่มองเห็น ได้รับความรู้สึกเหมือนว่าตัวขั้นบันได้นั้นลอยอยู่บนอากาศโดยไม่มีโครงสร้างรองรับ
ตัวบันไดนั้น จะถูกติดตั้งกับโครงสร้างแค่ด้านใดด้านหนึ่งฝั่งเดียวเท่านั้น ซึ่งอาจจะโชว์โครงสร้างให้เห็นหรือซ่อนไว้ก็ได้
บันไดลอยนั้น สามารถพบเห็นได้ทั่วไป และมีความน่าสนใจ ติดตั้งได้กับพื้นที่ทุกแบบ
ข้อดี
- บันไดลอยนั้น สร้างความรู้สึกเหมือนลอยอยู่ ทำให้เกิดความน่าสนใจ และโดดเด่นกว่า รูปแบบบันได ชนิดอื่นๆ
- โครงสร้างของบันได มักจะติดตั้งซ่อนอยู่ในผนังด้านหนึ่ง ทำให้มีพื้นที่ในการดีไซน์ ออกแบบลูกเล่นต่างๆ ได้มากขึ้น
- ช่วยให้พื้นที่ที่ติดตั้ง ดูมีความเปิดโล่ง ดูกว้างขึ้นกว่าเดิม
ข้อเสีย
- การออกแบบรูปลักษณ์ และโครงสร้าง ต้องมีความชำนาญ และประสานงานร่วมกันระหว่างสถาปนิกและวิศวกร
- ตัวโครงสร้างที่รองรับตัวบันได ต้องได้รับการออกแบบอย่างดีให้แน่ใจว่าสามารถรับน้ำหนักตัวบันไดทั้งหมดได้อย่างปลอดภัย
- บันไดลอยนั้น มีราคาค่อนข้างสูงกว่าบันไดแบบอื่นๆ พอสมควร เพราะโครงสร้างที่ใช้ต้องมีความแข็งแรงกว่าโครงสร้างทั่วไป
- ผู้ใช้งานอาจจะต้องระมัดระวังไม่ทำของตกหล่น เพราะสิ่งของอาจกลิ้งตกไปด้านล่างได้
บันไดแยก
บันไดแยก หรือ Split Stairs สามารถเรียกได้อีกอย่างว่า Bifurcated Stair
โดยทั่วไปแล้ว รูปแบบบันได แบบนี้ จะมาเป็น Set ขนาดกว้าง โดยมีทางขึ้นหรือลง 1 ทาง และบริเวณชานพักจะแตกแขนงเส้นทางออกไปสองฝั่ง ทำให้ปลายทางมีเส้าทาง 2 จุดนั่นเอง
ทิศทางของบันไดที่แยกออกไป โดยมากมักจะถูกออกแบบให้หันไปในด้านแยกจากกัน ตรงข้ามกัน ประมาณ 180 องศา
ข้อดี
- บันไดแบบแยกนั้น ทำให้บันไดหนึ่ง Set สามารถทำหน้าที่แบ่งเส้นทางเป็น 2 ฝั่งได้ ทำให้บริเวณชั้นบนสามารถเข้าถึงได้ง่ายขึ้น
- สร้างความประทับใจ โอ่โถง และหรูหราให้แก่ผู้ใช้งานอาคารเป็นอย่างยิ่ง
- โดยทั่วไป มักนิยมใช้กับบ้านขนาดใหญ่, คฤหาสถ์, อาคารราชการ หรืออาคารพาณิชย์ ที่ต้องการโถงทางเข้าที่ดูยิ่งใหญ่
- เหมาะสมกับการติดตั้งและสามารถใช้ได้ทั้งภายนอก และภายในอาคาร
ข้อเสีย
- บันไดแบบแยกนั้น กินพื้นที่ค่อนข้างเยอะเลยทีเดียว ทำให้จำเป็นต้องได้รับการวางแผน และออกแบบตั้งแต่แรก และต้องเผื่อพื้นที่ไว้อย่างระมัดระวัง
- ราคาสูง เมื่อเทียบกับบันไดชนิดอื่นๆ
บันไดลิง
บันไดลิง หรือ Ladder ก็ทำหน้าที่เหมือนบันไดทั่วไป คือสามารถช่วยให้ผู้ใช้อาคารสามารถเคลื่อนที่จากชั้นหนึ่ง ไปยังอีกชั้นหนึ่งของอาคารได้ อย่างไรก็ตาม ตามกฏหมายอาคาร บันไดลิงไม่สามารถทำหน้าที่เป็นบันไดหลักได้
เป็น รูปแบบบันได ที่สามารถพบเห็นได้ทั่วไปในทาง Service หรือบริเวณที่มีพื้นที่จำกัดมากๆ อีกหนึ่งฟังก์ชั่นที่คนนิยมใช้บันไดลิงกัน คือใช้ทำหน้าที่เป็นบันไดหนีไฟ ในอาคารที่มีพื้นที่จำกัด แต่ถูกกฏหมายบังคับให้ต้องมีบันไดหนีไฟนั่นเอง
อีกสถานที่ที่อาจพบเห็นได้ คือบ้านพักอาศัยบริเวณชั้นลอย หรือห้องนอนที่มีชั้นลอย
ข้อดี
- บันไดลิง เป็นบันไดชนิดที่มีความประหยัดพื้นที่มากที่สุดในทุกประเภท
- ราคาถูก และมีดีไซน์เรียบง่าย
- สามารถติดล้ด้านล่าง เพื่อเข็นเคลื่อนย้ายเวลาใช้งานเสร็จ ป้องกันการเข้าถึงได้
- นอกจากเคลื่อนย้าย ยังสามารถใช้ปีนไปหยิบของที่อยู่บนชั้นวางสูงๆ ได้
ข้อเสีย
- ใช้งานยาก ต้องปีนอย่างระมัดระวัง
- ไม่สามารถใช้เป็นบันไดหลักได้
ขอขอบคุณข้อมูลจาก keuka-studios
บทสรุป
จำเห็นได้ว่า รูปแบบบันได นั้น มีหลากหลายประเภท หลากหลายชนิดมากมายเลยทีเดียว หวังว่าท่านผู้อ่านทุกคนจะได้เข้าใจ ว่ามันมีกี่ชนิด มีกี่ประเภท พร้อมทราบถึงข้อดีข้อเสีย ของบันไดชนิดต่างๆ อย่างครบถ้วน เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ต่อไม่ว่าจะเป็นการออกแบบ การเลือกใช้ และอื่นๆ ก็ตาม ทั้งนี้ หากมีความผิดพลาดในข้อมูลใดๆ ต้องขออภัยมา ณ ที่นี้ ด้วยครับ