Green Building หรืออาคารสีเขียวคืออะไร มีข้อดียังไง พร้อมตัวอย่างงานที่น่าสนใจ

Green Building

ในปัจจุบัน ทุกๆ คนน่าจะเคยได้ยินแนวคิดที่สนับสนุนให้งานสถาปัตยกรรม ขยับรูปแบบให้เป็นอาคารสีเขียว หรือ Green Building ซึ่งก็เป็นแนวคิดที่หลายๆ คนเริ่มจะทำตาม และเป็นที่นิยมมากขึ้น นั่นเพราะในยุคนี้ โลกของเราอยู่ในจุดที่สิ่งแวดล้อมถูกทำลายลงอย่างมาก นั่นหมายความว่า หากมนุษย์เรายังคงรูปแบบการดำรงชีวิตเช่นเดิมไปเรื่อย ทรัพยากรโลกจะถูกทำลายจนหมดสิ้นภายในอนาคตอันใกล้นี้

ด้วยเหตุนี้ เจ้าของโครงการหลายๆ ที่ จึงเริ่มตระหนัก และเริ่มตีกรอบโครงการของตนให้อาคารที่สร้าง มีความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น แต่ถ้าจะเป็น “อาคารสีเขียว” ต้องมีอะไรพิเศษบ้าง? บทความนี้ เราจะมาพูดถึงอาคารสีเขียวกัน ว่ามันคืออะไร ทำไมถึงต้องมี มีเป้าหมายอย่างไรบ้าง พร้อมตัวอย่างอาคารเขียวที่มีดีไซน์ที่น่าสนใจ

Green Building คืออะไร

หลายๆ คน อาจจะคิดว่า Green Building ก็คือแค่อาคารที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากกว่าอาคารธรรมดาทั่วไป แต่จริงๆแล้ว อาคารสีเขียวนั้น ถือว่าสามารถแยกออกมาเป็นประเภทของอาคารชนิดหนึ่งได้เลย ตั้งแต่ตัวสิ่งก่อสร้าง การใช้งาน รวมถึงบริบทโดยรอบของมันด้วย

นิยามของอาคารสีเขียว คือโครงการสิ่งก่อสร้าง ที่ช่วยให้ผู้ใช้งาน สามารถอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติโดยรอบของ Project Site ได้มากที่สุด ในขณะที่ตัวอาคารเองยังสามารถรองรับการใช้งานได้คงเดิมไม่ลดลง

นิยามที่แท้จริงของ อาคารที่มีความกรีน คืออาคารที่มีโครงสร้าง และการดำเนินการของตัวอาคาร ซึ่งสนับสนุนสิ่งแวดล้อมที่ดีในทุกๆ ด้าน และไม่ส่งผลเสียต่อผืนดิน, น้ำ, ทรัพยากร และแหล่งพลังงาน โดยรอบโครงการ

สำนักงานปกป้องสิ่งแวดล้อมสหรัฐ กล่าวไว้ว่า “อาคารสีเขียว คือโครงสร้าง ที่ผ่านกระบวนการซึ่งไม่กระทบต่อสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรโลก ตลอดอายุ Life-Cycle ของอาคาร ตั้งแต่การออกแบบ, ก่อสร้าง, ดำเนินการใช้งาน, ดูแลรักษา, ต่อเติม ไปจนถึงการทำลาย”

นอกจากนี้ ยังสามารถขยายความได้อีกว่าเป็นอาคารที่ออกแบบโดยคำนึงถึง เศรษฐวิทยา, สาธารณุปโภค, ความแข็งแรงทนทาน และความสะดวกในการใช้งาน ได้อีกด้วย

อาคารสีเขียว

ทำไมต้อง Go Green

มาดูกันต่อ ว่าทำไมการปรับตัวเข้าสู่ Green Life ถึงสำคัญ คนส่วนใหญ่ จะเข้าใจว่าการ Go Green ช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และเป็นการช่วยเหลือสิ่งแวดล้อมของโลกให้ดีขึ้น ซึ่งสามารถทำได้หลายวิธี และในส่วนของวงการสถาปัตยกรรม ก็ถือเป็นหนึ่งในวิธีการที่สำคัญเช่นกัน

สำหรับใครที่ยังไม่เคยคำนึงถึงการปรับตัวเข้าหาสิ่งแวดล้อม จริงๆ แล้ว มีวิธีง่ายๆ หลากหลายมากที่ช่วยให้เราสามารถเริ่มต้นเป็นส่วนหนึ่งของการอนุรักษ์ทรัพยากรโลกได้ ไม่จำเป็นต้องลงทุนทีเดียวเยอะๆ แต่สามารถเริ่มจากขั้นตอนเล็กๆ ได้มากมาย

อาคารสีเขียวนั้น เป็นงานดีไซน์ที่ช่วยลดผลกระทบในแง่ลบที่เกิดขึ้นกับสิ่งแวดล้อม อาทิเช่น

  1. ลดปริมาณขยะ, มลพิษ และการสลายตัวของสิ่งแวดล้อม
  2. ช่วยให้บริหารจัดการการใช้พลังงาน, น้ำ และทรัพยากรอื่นๆ ได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
  3. ช่วยพัฒนาสุขภาพและคุณภาพชีวิตผู้ใช้อาคาร และส่งเสริมผลิตผล

อาคารสีเขียว ต้องใช้ค่าใช้จ่ายที่สูงหรือไม่

เชื่อว่าหลายๆ คน รู้สึกว่าไม่ค่อยอยากปรับโครงการให้เป็นอาคารสีเขียวเพราะค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้น แต่จริงๆ แล้ว ถือเป็นความเข้าใจที่ผิด เพราะถึงแม้ อาคารประเภทนี้ จะมีค่าใช้จ่ายเริ่มต้นที่มากกว่าอาคารธรรมดา แต่ผลลัพธ์จากการใช้งานในระยะยาว อาจจะช่วยประหยัดเงินได้มากกว่าด้วยซ้ำ

เจ้าของโครงการ จะสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายในส่วนของการใช้งานพลังงาน เพราะอาคารสีเขียว มักใช้พลังงานอย่างประหยัดกว่าอาคารธรรมดาทั่วไป ด้วยเหตุนี้ จึงสามารถมองอีกมุมได้ว่า การเลือกสร้างอาคารสีเขียว ถือเป็นการลงทุน ที่จะช่วยให้คุณประหยัดเงินในระยะยาว และยังส่งผลดีต่อสิ่งแวดล้อมอีกด้วย

วัตถุประสงค์และเป้าหมาย

เรามาดูในหัวข้อ เป้าหมายของ Green Building กันต่อ แน่นอน ว่าหนึ่งในจุดประสงค์หลัก คือการช่วยให้โลกของเรามีความยั่งยืนขึ้น เมื่อคุณเลือกที่จะ Go Green ผลลัพธ์ที่ได้ก็คือสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืนขึ้น โดยสร้างผลกระทบกับที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตโดยรอบให้น้อยที่สุด

ในทางกลับกัน สำหรับอาคารธรรมดา เมื่อเริ่มโครงการ มักจะส่งผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตและสภาพแวดล้อมโดยรอบเป็นทอดๆ ไป เพราะฉะนั้น แม้การเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อยที่เราทำได้ ก็จะช่วยให้โลกของเราเป็นสถานที่ที่น่าอยู่ขึ้นนั่นเอง ไม่ใช่เพียงแต่เพื่อมนุษย์เราด้วยกัน แต่เพื่อพืชพรรณ และสัตว์ป่าด้วย

ข้อดีของอาคารสีเขียว

ด้วยเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่ถูกคิดค้นพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง ทำให้ Green Building ในยุคปัจจุบัน มักมีลูกเล่นใหม่ๆ มาช่วยสร้างประโยชน์ให้กับเจ้าของโครงการและผู้ใช้งานเสมอ เมื่อผนวกเข้ากับการออกแบบและโครงสร้างที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมแล้ว ส่งผลให้เกิดประโยชน์มากมาย ดังนี้

ลดปริมาณน้ำเสียและประหยัดพลังงาน

อาคารสีเขียว ที่ได้รับการรับรองจากสถาบันต่างๆ มักจะมีผลลัพธ์การใช้น้ำที่ประหยัดลง 30-50% และมีการประหยัดพลังงานลง 40-60% เมื่อเทียบกับอาคารแบบดั้งเดิม

ช่วยอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ

อาคารสีเขียวนั้น มีศักยภาพสูงมากในการลดประมาณก๊าซเรือนกระจก เมื่อเทียบกับสาขาอื่นๆ

โดยมีการคำนวณกันและเชื่อว่า ภายในปี 2050 อาคารประเภทนี้ สามารถช่วยลดปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ได้ถึง 84 Gigatons ผ่านปัจจัยต่างๆ ของตัวอาคาร เช่น การประหยพลัน, การปรับเปลี่ยนไปใช้เชื้อเพลิงสะอาด และการนำพลังงานใช้แล้วกลับมาใช้ใหม่

สาขาภาคส่วนอาคารนั้น มี Potential ที่จะช่วยประหยัดพลังงานได้ 50% ขึ้นไป ในปี 2050 ซึ่งคาดว่าสามารถช่วยให้อุณหภูมิโลก สูงขึ้นไม่เกิน 2 องศา (อยู่เหนือสาขาภาคส่วนอุตสาหกรรม)

ช่วยพัฒนาคุณภาพน้ำและอากาศ

จากสถิติ พบว่าคุณภาพอากาศภายในอาคารที่ดี มีปริมาณ CO2 และมลพิษต่ำ และมีอากาศที่ถ่ายเทดี ส่งผลให้ประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานพัฒนาในทางที่ดีขึ้น 8%

ส่งเสริมความหลากหลายทางชีวิภาพ และระบบนิเวศน์

Green Building ช่วยส่งเสริมระบบนิเวศน์ให้ดีขึ้น ด้วยการใช้พลังงานที่ประหยัด นอกจากนี้ ยังมีการนำพลังงานมาแปลงและใช้ซ้ำ อาทิเช่นการใช้พลังงานแสดงอาทิตย์เป็นต้น รวมถึงวัสดุของโครงสร้าง ที่ได้มาตรฐานว่าไม่เป็นพิษ และมีความยั่งยืน

สภาพแวดล้อมจะถูกวิเคราะห์ และคำนึงถึงตลอดระยะเวลาการออกแบบ, ก่อสร้าง และใช้งานอาคาร ช่วยให้สิ่งแวดล้อมโดยรอบอาคารไม่ถูกกระทบ

Green Building

ลดค่าใช้จ่ายและเพิ่มมูลค่าโครงการ

ในบางสถานการณ์ อาคารสีเขียวอาจจะมีราคาค่าก่อสร้างที่ต่ำกว่าอาคารธรรมดา และยังมีมูลค่าที่มากกว่าด้วย โดยมีการทำสถิติพบว่า Green Building โดยเฉลี่ยแล้ว มีมูลค่าสูงกว่าอาคารธรรมดากว่า 7% เมื่อเทียบโครงการที่มีเกรดพอๆ กัน

ช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้ใช้สอย

อาคารสีเขียว ไม่ได้มีเป้าหมายเพียงแค่ช่วยรักษาสภาพแวดล้อมเท่านั้น แต่ยังช่วยส่งเสริมสุขภาพกาย สุขภาพจิต และประสิทธิภาพการทำงานของบุคคลผู้ใช้สอยอีกด้วย นั่นหมายความว่า เจ้าของโครงการจะสามารถปล่อยเช่าหรือขายพื้นที่ได้อย่างรวดเร็ว และจ่ายค่าน้ำค่าไฟที่ไม่แพงจนเกินไป

ใน อาคารประเภทนี้ คุณภาพชีวิตของผู้ใช้งานนั้นถูกคำนึงถึงเสมอ ในทุกขั้นตอน โดยจากสถิติ พบว่าพนักงานออฟฟิศที่ทำงานในอาคารสีเขียว มีการตรวจระดับความสามารถทางสติปัญญาที่ได้ผลลัพธ์ดีขึ้นถึง 101% และสามารถนอนหลับพักผ่อนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ยาวนานขึ้นเฉลี่ย 46 นาทีต่อคืน

ช่วยส่งเสริมระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานของเมือง

อาคารสีเขียว สามารถส่งเสริมระบบ Infrastructure พื้นฐานร่วมกับรัฐบาลท้องถิ่น เพื่อพัฒนาความยั่งยืนในการใช้พลังงานให้กับพื้นที่บริเวณนั้นๆ ได้

ลักษณพื้นฐาน

ในการจะวิเคราะห์ว่าโครงการนี้มีความเป็น Green Building หรือผ่านเกณฑ์ LEED Certification หรือไม่นั้น มีปัจจัยหลายอย่างที่เข้ามาบ่งชี้ได้มากมาย ซึ่งเราจะยกตัวอย่างให้ทราบกันในหัวข้อนี้ ว่าอาคารเขียว ควรมีลักษณะอย่างไร ที่ต้องคำนึงถึงทั้งในงานออกแบบ Design และการก่อสร้าง

ตัวอย่างอาคารยั่งยืนที่น่าสนใจ

เรามาดูตัวอย่างของ Green Building ที่มีประสิทธิภาพ และมี Design ที่สวยงามกัน

มาตรฐานอาคารเขียว

Iberdrola Tower, Bilbao, Spain

Iberdrola Tower เป็นตึกสำนักงานใหญ่ขององค์กร ออกแบบโดยสถาปนิก César Pelli มีจุดเด่นคือการใช้พลังงานแบบ Renewable Energy ทั้งตัวอาคาร ในส่วนเปลือกอาคาร เป็นโครงสร้างกระจก สูง 165 เมตร ซึ่งถึงเป็นภาพลักษณ์ที่โดดเด่นที่สุด นอกจากนี้ ตัวตึกยังใช้เทคโนโลยี Energy Recovery Ring เข้ามาช่วยในการลดการผลิตคาร์บอนไดออกไซด์

โครงการนี้ออกแบบโดยเน้นสุขภาพชีวิตการใช้งานของพนักงานเป็นหลัก รวมถึงลูกค้าที่เข้ามาเยี่ยชม มีการจัดผังพื้นภายในให้สร้างเสริมการทำงานแบบ Teamwork

ประกอบไปด้วย

Beitou Public Library, Taipei, Taiwan

เป็นห้องสมุดแบบ Green Building แห่งแรกของไต้หวัน มีลักษณะเป็นอาคารสองชั้น ออกแบบมาเพื่อลดปริมาณการใช้นำและไฟฟ้าของอาคารโดยเฉพาะ ผลมากจากการดีไซน์หน้าต่างขนาดใหญ่นั่นเอง ในส่วนของหลังคาร มีการติดตั้ง Photovoltaic Cells ซึ่งสามารถสร้างพลังงาน และกักเก็บน้ำฝนสำหรับนำไปใช้ภายในห้องน้ำได้

คืออะไร

California Academy of Sciences, San Francisco, USA

เป็นสถาบันการวิจัยและพิพิธภัณฑ์ด้านประวัติศาสตร์ ซึ่งสร้างเสร็จเมื่อปี 2008 ออกแบบโดยสถาปนิกคนดัง Renzo Piano นั่นเอง ตัวอาคารมีการรีไซเคิลน้ำฝน ด้วย Photovoltaic Panels และถูกออกแบบให้มีการดึงแสงธรรมชาติเข้าสู่ภายในได้อย่างเต็มที่ที่สุด ในส่วนด้านบนหลังคารของตัวอาคาร เป็นหลังคาแบบ Green Roof ซึ่งประกอบไปด้วยพรรณพืชพื้นเมืองแคลิฟอร์เนียหลากหลายชนิด

ควรมีลักษณะอย่างไร

World Trade Center, Manama, Bahrain

เป็นกลุ่มอาคารแฝดแบบ Twin Tower สง 240 เมตร ตั้งอยู่ที่เมืองหลวงของบาห์เรน เป็นตึกสูงแห่งแรกของโลกที่มีการผสมผสานกังหันลมสำหรับผลิตไฟฟ้าเข้ากับตัวอาคาร ซึ่งกังหันทั้งหมด สามารถผลิตพลังงานให้กับตัวอาคารได้ถึง 15% เลยทีเดียว ทั้งสองตึกมีลักษณะตัดมุมเอียงเข้าสู่ตรงกลาง เชื่อมกันด้วยสะพาน 3 จุด

อาคารเขียว

Pixel Building, Melbourne, Australia

เป็นอาคารสำนักงานแบบ Carbon-Neutral หลักแรกของออสเตรเลีย ขึ้นชื่อว่าเป็นออฟฟิศเพื่ออนาคต โดยมีหลังคาแบบ Green Roof พร้อมแผนงโซลาร์เซลล์ ที่สามารถผลิตพลังงานใช้ภายในอาคารได้ และยังมีฟังก์ชั่นสำหรับกักเก็บน้ำฝนไว้ใช้งานได้อีกด้วย ในส่วน Façade มีลักษณะเป็นการผสมระหว่างระนาบเล็กๆ หลายๆ สี ซึ่งถูกดีไซน์มาเพื่อให้แสงธรรมชาติเข้าถึงได้อย่างเหมาะสม และยังเปิดช่องระบายอากาศเข้าออกจากภายในได้ดีเยี่ยมด้วย

design

Museum of Tomorrow, Rio de Janeiro, Brazil

เป็นพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ ออกแบบโดยสถาปิกชาวสเปน Santiago Calatrava สร้างติดท่าเรือ Maua ที่บราซิล เปิดทำการตั้งแต่ปี 2015 จุดเด่นของตัวอาคารคือมีแผง Solar Panel แบบเคลื่อนที่ได้, มีระบบกักเก็บน้ำฝน และระบบปรับอากาศที่ใช้น้ำจากอ่าว Guanabara ช่วย

ตัวอย่าง

Turning Torso, Malmö, Sweden

อีกหนึ่งโปรเจคของสถาปนิก Santiago Calatrava ซึ่งโครงการนี้ได้รับแรงบันดาลใจมากจากการบิดตัวเคลื่อนไหวของลำตัวมนุษย์ ตั้งอยู่ที่สวีเดน มีความสูง 190 เมตร เป็นตึกที่สูงที่สุดในแถบสแกนดิเนเวียเลยทีเดียว ตัวอาคารมีการใช้พลังงานจาก Renewable Energy โดยแต่ละห้อง จะได้รับการบริหารจัดการความร้อน และทรัพยากรน้ำ อย่างเหมาะสม และยังสามารถนำของเหลือทิ้งจากวัตถุดิบห้องครัวไปรีไซเคิลเป็นพลังงาน Biogas ได้อีกด้วย

ความยั่งยืน

Parkroyal Collection, Singapore

เป็นโรงแรมหรูที่ตั้งอยู่ใจกลางประเทศสิงคโปร มีพื้นที่สวน Garden Terraces มากถึง 15,000 ตร.ม. เรียกว่า Sky Garden ถือเป็นจุดเด่นที่ดึงดูดนั่งท่องเที่ยวได้อย่างดี สวนบนอาคารถูกออกแบบให้มีความยั่งยืนและอยู่ได้ด้วยตนเอง กินพลังงานเพียงเล็กน้อยผ่านแผง Solar Cell, Motion Sensors และน้ำฝนที่กักเก็บ

ประหยัดพลังงาน

Reforma Tower, Mexico City, Mexico

โครงการนี้ตั้งอยู่ที่ Paseo de la Reforma ที่เมืองหลวงเม็กซิโก เป็นตึกสูงอันดับ 3 ของประเทศ ที่ความสูง 246 ตร.ม. ใช้พลังงานแสงอาทิตย์กับพลังงานลม รวมถึงน้ำจากการรีไซเคิล ผลิตพลังงานไฟฟ้าภายในอาคาร ในส่วนระบบปรับอากาศภายในตึก ใช้ระบบ AI ผ่านเซ็นเซอร์ คอยควบคุมแอร์ทั่วทั้งตัวอาคารเพื่อบริหารจัดการพลังงานให้ได้อย่างเหมาะสม

บทสรุป

Green Building นั้นถือเป็นเทรนด์รูปแบบอาคารที่กำลังมาแรง และมีความสำคัญมากๆ ในยุคปัจจุบัน หลายๆ คนอาจจะคิดว่าอาคารสีเขียว ต้องมีราคาและค่าใช้จ่ายในการดำเนินการที่สูง และต้องมีดีไซน์รูปลักษณ์ที่น่าเบื่อ ไม่สวยงาม แต่ที่จริงแล้ว ในระยะยาว ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการอาจจะประหยัดกว่าอาคารธรรมดาด้วยซ้ำ และด้วยเทคโนโลยีปัจจุบัน สถาปนิกหลายๆ คนทั่วโลกก็สามารถออกแบบอาคารเขียวให้มีความน่าสนใจ สวยงามได้มากมาย ดังตัวอย่างที่ยกมาให้เห็นกันในบทความนี้นั่นเอง